นูริอุทปา (Nuriootpa) เมืองงามเอื้ออาทรในมุมมอง “ศรีบูรพา”

By Admin

รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๔๗) ผู้เขียนและภรรยามาพักอยู่กับลูกสาวซึ่งทำงานอยู่ที่ออสเตรเลีย จึงถือโอกาสแวะเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ที่ “ศรีบูรพา” เคยมาใช้ชีวิตที่นี่ อาทิ เมืองเมลเบิร์น เมืองซิดนีย์ เมืองอะดิเลด ฯลฯ โดยเฉพาะที่เมืองอะดิเลด (Adelaide) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐเซ้าท์ออสเตรเลีย  “ศรีบูรพา” เรียกชื่อเมืองนี้ว่า แอ็ดเล่ย์  เคยแสดงปาฐกถาเล่าว่า คนออสเตรเลียได้ริเริ่มร่วมมือกันสร้างเมืองๆ หนึ่งขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยที่รัฐบาลไม่ได้มีส่วนริเริ่มด้วยเลย (รายละเอียดอยู่ในปาฐกถา ชีวิตแบบออสเตรเลีย ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์  ภายหลังได้ถอดความนำมาพิมพ์ในภาคแรกของหนังสือข้าพเจ้าได้เห็นมา)  เมืองที่ว่านี้ หมายถึงเมืองนูริอุทปา (Nuriootpa)…

ช่วงชีวิตในจีนของ “ศรีบูรพา”

By Admin

รำลึกความทรงจำครึ่งศตวรรษในจีนจากมิตรร่วมหลังคาเรือน “ศรีบูรพา” : สุชาติ ภูมิบริรักษ์ ชามา ชีวประวัติและผลงานของ “ศรีบูรพา” ได้มีผู้ศึกษาเอาไว้อย่างละเอียดแทบทุกด้านไม่น้อยทีเดียว  ยกเว้นในช่วงบั้นปลายชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๑๗ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การดูแลที่ดีของรัฐบาลจีน ซึ่งศรีบูรพาได้ลี้ภัยการเมืองอยู่ที่นั่นจวบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต  แม้จนบัดนี้ ซึ่งทำให้ยังคงเป็นปริศนาคลุมเครือและเป็นที่ใคร่รู้ของผู้สนใจติดตามชีวิตและผลงานของ “ศรีบูรพา” เหตุเพราะเจ้าของชีวประวัติได้ลาลับจากวงวรรณกรรมไทยไปแล้ว โดยละวางการกล่าวถึงอัตชีวประวัติในช่วงดังกล่าว รวมถึงไม่ได้เปิดเผยผลงานเขียนใดต่อสาธารณะ และไม่มีโอกาสได้บอกเล่าเรื่องราวความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศจีนให้ชนรุ่นหลังรับรู้บรรยากาศการใช้ชีวิตในต่างแดนภายใต้การดูแลของรัฐบาลจีน ในช่วงก่อนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและจีนให้กระจ่างได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความจริง” ดังกล่าวนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคณะบุคคลหลายฝ่ายและเกี่ยวข้องกับความผกผันของการเมืองไทย รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและจีน จนอาจกล่าวได้ว่า ช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นอีกหน้าหนึ่งที่ควรได้รับการเปิดเผยและบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยและจีน เพื่อให้เกิดสัมฤทธิผลในการศึกษาประวัติความสัมพันธ์ไทย-จีนอีกโสตหนึ่ง ผ่านการต่อสู้ของคณะนักหนังสือพิมพ์ไทยกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่มุ่งใฝ่หาสันติภาพและความสัมพันธ์ที่เป็นปกติระหว่างประชาชน! คณะส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลุ่มเล็กๆ ดังกล่าวที่ได้เดินทางไปจีนตามคำเชิญภายใต้การนำของ “ศรีบูรพา”…

อาลัยมิตรแท้ กุหลาบ สายประดิษฐ์

By Admin

อู๋ตง มาถึงเมืองไทยเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาอันสวยงาม ผืนแผ่นดินอันเขียวชอุ่มอุดมสมบูรณ์ แลผู้คนที่พำนักอยู่ที่นี่ ทำให้หวนรำลึกถึงความหลังและมิตรในอดีต บุคคลที่ทำให้ฉันอาลัยรักเป็นอย่างยิ่งคือ อดีตนักประพันธ์และนักหนังสือพิมพ์ชั้นเอก คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ฉันคิดถึงคำพูดที่เพื่อนคนไทยเคยพูดกับฉันคือ คนจีนเคารพนับถือนักประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่หลู่ซิ่นฉันใด คนไทยน่าจะเคารพนักเขียนเช่นคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ฉันนั้น  ที่เมืองไทย ฉันได้เห็นประชาชนไทยและคนในวงการหนังสือพิมพ์มีความศรัทธาต่อท่านอย่างสูง  บ่ายวันที่ ๒๐ มิถุนายน ฉันกับอู๋จี้เอียะ เพื่อนนักหนังสือพิมพ์อาวุโสบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จีน “ซินตงง้วน” กับลูกสาวของเขาที่เป็นนักหนังสือพิมพ์รุ่นสาวชื่อ อู๋เหม่ยอิง มาถึงสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทสไทย ชมรูป าพและผลงานของคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ เนื่องในวาระครบรอบ ๘ ปีแห่งมรณกรรมของท่าน ณ ระเบียงของสมาคม ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนสามเสน กรุงเทพฯ…

ไสว มาลายเวช เลขา-อาลักษณ์ “ศรีบูรพา”

By Admin

ไพลิน รุ้งรัตน์ คุณไสว มาลายเวช เป็นเพื่อนร่วม “คุก” ของศรีบูรพา เมื่อครั้ง พ.ศ. ๒๔๙๕  ครั้งนั้นคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้รับมอบหมายจากสมาคมนักหนังสือพิมพ์ให้เป็นประธานนำคณะไปแจกสิ่งของที่มีผู้บริจาคแก่ประชาชานภาคอีสานที่ประสบภัยธรรมชาติอย่างร้ายแรง ประกอบกับการที่ได้ร่วมคัดค้านสงครามเกาหลี จึงถูกจับกุมพร้อมมิตรสหายในข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ถูกตัดสินจำคุกเป็นคณะใหญ่ ๑๓ ปี ๔ เดือน และถูกคุมขังไว้ในเรือนจำบางขวางฐานนักโทษการเมือง (จากเล่มข้อคิดจากใจ หน้า 198) ตอนนั้นคุณไสวอายุ ๓๙ ปี และคุณกุหลาบอายุประมาณ ๔๗ ปี  คุณไสวถือเป็นนักหนังสือพิมพ์รุ่นน้องที่มีความศรัทธาในตัวคุณกุหลาบเป็นอย่างยิ่ง  คุณไสวเล่าว่าเมื่ออยู่ในคุกนั้น คุณกุหลาบ ยังคงเขียนหนังสืออยู่ และโต๊ะของคุณกุหลาบก็คือลังไม้ฉำฉา…

กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์

By Admin

สมบูรณ์ วรพงษ์ การเขียนถึงนาม “กุหลาบ สายประดิษฐ์” ในวาระที่ท่านผู้นี้ครบ ๑๐๐ ปีชาตกาล และทางองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกมีการเฉลิมฉลองร่วมกับท่านอื่นๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ นั้น ข้าพเจ้าเองรู้สึกยุ่งยากพอสมควรและเต็มไปด้วยความพรั่นพรึงใจไม่น้อยที่เขียนถึงบุคคลสำคัญ ไม่เฉพาะวงการ นักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ไทยเท่านั้น หากเป็นบุคคลสำคัญของโลกท่านหนึ่ง แต่เมื่อได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดทำหนังสืออนุสรณ์ให้กับ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เจ้าของนามปากกา “ศรีบูรพา” ก็พยายามค้นคว้าเอกสารอ้างอิง สัมภาษณ์บุคคลร่วมสมัยผู้ใกล้ชิด ประวัติการเมืองไทยจากการเล่าขานของบุคคลร่วมชะตากรรมเดียวกัน เหตุที่จำเป็นต้องหาเอกสารและบุคคลที่อยู่ร่วมสมัยกับท่านผู้นี้ก็เพราะ ๑. ข้าพเจ้ามิได้เป็นนักหนังสือพิมพ์ร่วมสมัยกับท่าน และไม่ได้สัมผัสกับท่านนักคิด นักเขียน…

ศรีบูรพา “ลูกผู้ชาย” และ “สุภาพบุรุษ” ของประชาชน

By Admin

วิทยากร เชียงกูลวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ซึ่งคนมักจะรู้จักในนามของ “ศรีบูรพา” ที่มีบทบาททางความคิดในสังคมไทยมากกว่านักเขียนนวนิยายมาก เขาเป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียนบทความ และนักเขียนนวนิยายที่มีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ยุคก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ มาจนถึงยุคจอมพลสฤษดิ์เรืองอำนาจ  เขายังเป็นบรรณาธิการ เป็นกัปตันทีมที่มีลักษณะผู้นำสูง เป็นตัวของตัวเอง รวบรวมดึงดูดคนเก่งๆ มาทำงานร่วมกันได้มาก  เป็นนักเคลื่อนไหวภาคประชาชนผู้สนับสนุนการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพระบอบประชาธิปไตยและความเป็นธรรมที่คงเส้นคงวามากที่สุดคนหนึ่ง รวมทั้งยังเป็นนักมนุษยธรรมและชาวพุทธผู้รักสันติภาพความเป็นธรรม ช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เขาได้คัดค้านนโยบายเข้าร่วมสงครามกับญี่ปุ่นของรัฐบาลจอมพล ป. จนถูกจับกุมคุมขังระยะสั้นๆ  หลังสงครามโลกเขาก็เป็นหนึ่งในผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพและคัดค้านสงครามเกาหลี จนถูกจับกุมคุมขังข้อหาเป็นกบฏเป็นเวลาราว ๕ ปี  พ้นโทษในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เขายังเขียนเรียกร้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ความเป็นธรรม…