พระไพศาล วิสาโล

By Admin

ประวัติผู้รับรางวัลพระไพศาล วิสาโล พระไพศาล วิสาโล เป็นพระนักคิด นักวิชาการ นักเขียนชั้นแนวหน้าท่านหนึ่ง ในหมู่ผู้แสวงหาทางออกให้แก่สังคมและโลกโดยสันติวิธี ท่านมีผลงานเขียนและงานแปลสม่ำเสมอ  นอกจากนี้ยังเป็นบรรณาธิการหนังสือหลายฉบับ เคยได้รับรางวัล“ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์” ครั้งที่ ๒ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จากผลงานหนังสือ “พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤติ” ในสาขาศาสนาและปรัชญา กำเนิดเดิมชื่อว่า  ไพศาล วงศ์วรสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่กรุงเทพมหานคร  การศึกษาเข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯและต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  หน้าที่การงาน เริ่มทำกิจกรรมตั้งแต่อยู่โรงเรียนอัสสัมชัญ  เมื่ออยู่มหาวิทยาลัยก็เป็นบรรณาธิการบริหารหนังสือปาจารยสาร ซึ่งมีแนวทางในการประยุกต์พุทธธรรมและอหิงสธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันและทำกิจกรรมในชมรมพุทธศาสตร์และประเพณี ไม่เชื่อในแนวทางมาร์กซิส   แต่กลับถูกมองว่าเป็นทั้ง “ซ้าย” และ “ขวา” กล่าวคือ ด้วยความที่สนใจการเมืองจึงถูกมองว่าเป็นพวกซ้าย ขณะเดียวกัน ความสนใจในพระพุทธศาสนาก็ทำให้นักศึกษาด้วยกันมองว่าเป็นพวกขวา  ในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ได้ชุมนุมอย่างสงบในตึกเรียนแยกจากนักศึกษา เป็นการชุมนุมอดอาหารเรียกร้องคณะสงฆ์พิจารณาประเด็นที่เปิดโอกาสให้จอมพลถนอม กิตติขจร…

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

By Admin

นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์(Vanchai Tantivitayapitak เกิด :   28 มกราคม พ.ศ. 2504การศึกษา :  2510-2521 ประถมศึกษา-มัธยมตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพ2522-2526 ปริญญาตรี  สาขาวิชาวรรณคดีอังกฤษ  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การทำงาน :  2527-2528  กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ2528-2531  กองบรรณาธิการนิตยสาร สารคดี 2531-2532  หัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสาร สารคดี2533-2553  บรรณาธิการบริหารนิตยสาร สารคดี 2554  รองผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ ทีวีไทย การศึกษาดูงาน :2537 ได้รับทุนจาก Asia Foundation ไปศึกษาดูงานการทำสื่อด้านธรรมชาติศึกษา ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาสองเดือน2538 เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปปาฐกถาเรื่อง 50 ปีความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น2540 ได้รับทุนจากสถานทูตอังกฤษ ไปศึกษาดูงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศอังกฤษเป็นเวลาหนึ่งเดือน2541 สอบชิงทุนการศึกษา Chevening Scholarship ของรัฐบาลอังกฤษ เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทได้ แต่ได้สละสิทธิ์ในเวลาต่อมา กิจกรรมพิเศษ : 2535-2543  เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร2537-2543 กรรมการตัดสินข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย2546-ปัจจุบัน  ประธานชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม…

ครูหลวน เหวินหัว นักเขียนรางวัลศรีบูรพาเกียรติยศ ปี ๒๕๖๐

By Admin

(ภาพจาก MGR ONLINE) ครูหลวน เหวินหัว นักเขียนรางวัลศรีบูรพาเกียรติยศ ปี ๒๕๖๐ เกิด ค.ศ. 1939 ที่เมืองจี๋หลิน เริ่มเรียนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งเมื่อ ค.ศ. 1960 หลังจบการศึกษา ก็ได้ทำงนวิจัยวรรณกรรมไทย ที่สำนักวิจัยวรรณกรรมต่างประเทศแห่งสถาบัณฑิตยสถานแห่งประเทศจีน ต่อมา ค.ศ. 1982 ก็ได้เข้าศึกษาภาษาไทยและทำงานวิจัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑ ปี วิจัยวรรณกรรมไทยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีก ๑ ปี (1987-88) จากนั้นก็เป็นอาจารย์ประจำสอนภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมเวลาถึง ๘ ปี (1993-95,1998-2004) กระทั่งเกษียณอายุกลับบ้านที่ปักกิ่งเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2005 ครูหลวนยังได้สร้างสรรค์งานเขียน ถ่ายทอดวรรณกรรมไทยเป็นภาษาจีนให้ชาวจีนได้รู้จักงานทางความคิดและงานเขียนของไทยมากขึ้น ได้แก่ ประวัติศาสตร์วรรณกรรมไทย (เป็นประวัติศาสตร์วรรณกรรมไทยพากษ์ภาษาจีนเล่มแรก) ประวัติศาสตร์วรรณกรรมตะวันออก (มี ๒ เล่ม, ได้รับรางวัลจากหอสมุดแห่งชาติจีน) นอกจากนี้ ยังมีงานแปลได้แก่ ‘ข้างหลังภาพ’ ของ “ศรีบูรพา” ‘คำพิพากษา’ และ ‘เรื่องธรรมดา’ ของ ชาติ กอบจิตติ ‘รวมเรื่องสั้นไทย’…

เดวิด สไมท์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพาเกียรติยศ ปี ๒๕๖๐

By Admin

เดวิด สไมท์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพาเกียรติยศ ปี ๒๕๖๐ ผลงานมีทั้งงานแปลเช่น ข้างหลังภาพ ของ “ศรีบูรพา” หญิงคนชั่ว ของ ก.สุรางคนางค์ ความฝันของนักอุดมคติ ของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน และ จนตรอก ของ ชาติ กอบจิตติ เป็นต้น และคู่มือเรียนภาษาเช่น Teach Yourself Complete Thai, Thai : An Essential Gramma, Colloquial Cambudian และ Practical Cambudian dictionary : English-Cambudian, Cambudian-English เป็นต้น เกิดปี ๒๔๙๗ จบปริญญาตรีที่ SOAS ม.ลอนดอน ปี ๒๕๑๙ สอนภาษาอังกฤษที่ ม.ธรรมศาสตร์ และ มศว ประสานมิตร ปี…

ประมวล เพ็งจันทร์

By Admin

ประวัตินายประมวล เพ็งจันทร์ นายประมวล เพ็งจันทร์ เกิดที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ อายุได้ ๑๑ ปี ได้เดินทางออกจากเกาะสมุยมาเป็นกรรมกรรับจ้างกรีดยางพาราและอื่น ๆ ในช่วงปี ๒๕๑๔ ช่วงสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ที่มีการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โกมล คีมทอง และเพื่อนของนายประมวลหลายคนเสียชีวิตเพราะเหตุนี้ ตอนนั้นนายประมวลอายุ ๑๘ เขากลัวตายจึงกลับบ้านที่สมุย ได้อ่านหนังสือชื่อลีลาวดี ของ ธรรมโฆษณ์ ประทับใจพระเรวัติ ตัวเอกของเรื่องจึงตัดสินใจบวชเพราะเชื่อว่าเป็นหนทางที่จะพาเขาให้พ้นจากภัยดังกล่าวได้ เมื่อเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ได้ไปกราบอาจารย์พุทธทาส และท่านถามว่ามาทำไมก็ตอบว่า มาปฏิบัติธรรม ท่านก็ถามว่า บวชมากี่ปี พอรู้ว่าบวชมาน้อยท่านก็บอกว่า กลับไปสอบเปรียญธรรมให้ได้ก่อน นั่นแหละคือการปฏิบัติธรรม หลังจากบวช เขาเปลี่ยนจากเด็กหนุ่มที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ มาเป็นเด็กหนุ่มที่ท่องตำราอย่างหนักแทน เริ่มต้นเรียนรู้จากการท่องจำ ท่องแม้กระทั่งหน้าคำนำหรือเชิงอรรถท้ายหน้า เพราะเขาไม่รู้ว่าอะไรสำคัญไม่สำคัญ เมื่อพระอาจารย์เห็นว่าเขามีพรสวรรค์ในการท่องจำหนังสือทั้งเล่มได้ภายในเวลาแค่ไม่กี่วัน จึงส่งเสริมทุกทางให้เขาเป็นนักบวชที่ดีให้ได้ ดังนั้น จากชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ พระประมวลจึงเสริมต่อด้วยการศึกษานอกโรงเรียนจนจบชั้นมัธยม ๖ ต่อมาเข้ากรุงเทพฯ พบกับเหตุการณ์วันตุลามหาโหด…