นายชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ ได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี ๒๕๖๖

By Mod

นายชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ หรือ “ท่านขุนน้อย” หรือ “นายพรานผี” เป็นนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการ ผู้ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ยืนหยัดต่อสู้เพื่อส่วนรวมและมนุษยธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี แต่ไปเติบโตอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ใฝ่ฝันที่จะเป็นนักเขียนมาตั้งแต่เด็ก รักการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ ขยันหมั่นเพียรเข้าห้องสมุดอยู่เสมอ และเริ่มเขียนกลอนตั้งแต่อยู่ชั้น ป.4 กลอนชิ้นแรกได้ลงตีพิมพ์ในหนังสือ ‘วิทยาสาร’ หลังเรียนจบ ม.ศ.3 ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ จึงเข้ากรุงเทพฯ เรียนต่อชั้นมัธยมปลายโรงเรียนผดุงศิษย์พิทยา และก้าวเข้าสู่เส้นทางนักข่าวตั้งแต่ยังไม่จบชั้นมัธยมปลาย เริ่มประสบการณ์การเป็นนักหนังสือพิมพ์เมื่อปี 2517ด้วยการเขียนบทความ “ตุลาการ องค์กรที่ไร้เดียงสา” ตีพิมพ์จนถูกฟ้องละเมิดอำนาจศาล ติดคุกสองเดือน จากนั้นก็ผ่านงานเป็นนักข่าว เป็นนักหนังสือพิมพ์ เป็นบรรณาธิการวนเวียนอยู่ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆหลายเล่ม อาทิ ประชาชาติรายวัน อภิวัฒน์รายสัปดาห์ ประชาชนรายเดือน ตะวันออกปริทัศน์ ท้ายสุดได้ทำนิตยสารการเมืองตระกูลอาทิตย์ เน้นเจาะลึกขุดคุ้ยความไม่ชอบมาพากลของผู้มีอำนาจออกมา’ตีแผ่ด้วยความกล้าหาญ และถูก‘สั่งปิด’ เสมอมา จึงแก้ปัญหาด้วยการ ‘เปลี่ยนหัวหนังสือ’…

นายทองแถม นาถจำนง ได้รับรางวัลศรีบูรพาประจำปี ๒๕๖๖

By Mod

นายทองแถม นาถจำนง นามปากกา “โชติช่วง นาดอน” เป็นบรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนและนักวิชาการวัฒนธรรม ผู้มีความรอบรู้วรรณกรรมไทย-จีน และเป็นดั่งสะพานเชื่อมวัฒนธรรมสองชาติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๘ ที่บ้านในสวนย่านวัดบวรมงคล ฝั่งธนบุรี เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนศิริมงคลศึกษา ต่อชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ และสอบเข้า เรียนต่อที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะเรียนปี ๔ เทอมสุดท้ายเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ จึงหนีภัยทางการเมืองหลบเข้าป่า ร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ปี ๒๕๒๑ ได้รับคัดเลือกจากพรรคให้ไป ศึกษาวิชาการแพทย์ ที่เซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะศึกษาอยู่ ได้แปลบทกวีจีนเป็นภาษาไทยหลายเล่ม ปี ๒๕๒๖ คืนสู่สังคมไทย และกลับเข้าศึกษาต่อที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีก ๑ เทอม จนจบปริญญาตรี ในปี ๒๕๒๖ นั้นเอง เริ่มเขียนและแปลงานกวีนิพนธ์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์จีน ตั้งแต่ปี…

“ประกิต หลิมสกุล” สุดหัวใจคือความเป็นกลางและความเป็นธรรม

By Mod

เมื่อชื่อของ “ประกิต หลิมสกุล” เจ้าของนามปากกา “กิเลน ประลองเชิง” แห่งคอลัมน์ “ชักธงรบ” ใน “หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ได้รับการประกาศให้ได้รับ “รางวัลศรีบูรพา” 2565 สร้างความยินดีปรีดาให้แก่แวดวงนักข่าวนักหนังสือพิมพ์นักเขียนกันถ้วนทั่ว           เส้นทางชีวิตสู่การเป็นนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ของ “ประกิต หลิมสกุล” ที่เหล่าผู้คนในวงการน้ำหมึกยกย่อง เคยได้รับการบอกเล่าหลายครั้งคราว โดยเจ้าตัวเองมักจะถ่อมตนอยู่เสมอว่า “เรียนหนังสือไม่จบ” นั่นยิ่งทำให้เรื่องราวการหล่อหลอมตามวัยและวันมีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย           “ประกิต หลิมสกุล” เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ที่จังหวัดสมุทรสงคราม           “นามสกุลหลิม ไม่ใช่หลินที่แปลว่าป่า แต่หลิมแปลว่ารุ่งอรุณแห่งความสุข คุยให้ลูกฟังว่านามสกุลพ่อแปลเพราะนะด้วยความภูมิใจ”           บทสนทนาที่เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นกันเองระหว่าง “ชมัยภร บางคมบาง” ประธานกองทุนศรีบูรพา และ…

นายประกิต หลิมสกุล (กิเลน ประลองเชิง) ได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี ๒๕๖๕

By Mod

คำประกาศเชิดชูเกียรติ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ แด่ นายประกิต หลิมสกุล(กิเลน ประลองเชิง) สุภาพบุรุษนักหนังสือพิมพ์ ผู้ใช้วิชารู้จักมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้ง นายประกิต หลิมสกุล นามปากกา กิเลน ประลองเชิง เป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน ที่มีประสบการณ์ชีวิตเข้มข้น ผ่านวิริยะบากบั่นสามารถเรียนรู้ และกลั่นกรองประสบการณ์เหล่านั้นเป็นงานเขียนเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นและสังคมได้อย่างงดงาม เกิดเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ที่บ้านริมคลองบางเรือหัก ตำบลท้ายหาด หมู่ที่ ๗ อำเภอเมือง สมุทรสงคราม เป็นบุตรชายคนเดียว ลำดับที่ห้า เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนนิพัทธหริณสูตร์ (วัดประทุมคณาวาส) สมุทรสงคราม ต่อชั้นมัธยม ที่โรงเรียนศรัทธาสมุทร สมุทรสงครามได้สองปี ลาออกไปบวชเณรที่วัดเขาย้อย เพชรบุรี หลังจากนั้นไปอยู่วัดดาวดึงษ์ บางยี่ขัน ธนบุรี ได้ศึกษาต่อที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร สอบได้นักธรรมเอกเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ ต่อมา พ.ศ.๒๕๓๑ ศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ๒๕๐๙-พ.ศ.๒๕๑๓…

พิธีมอบรางวัลศรีบูรพา ๒๕๖๕

By Mod

วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ ยูเนสโก (UNESCO) ประกาศคัดเลือกบุคคลดีเด่น ของโลก ปี พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘ รวม ๔๓ คน เป็นคนไทยสองคนคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) ตามปกติ กองทุนศรีบูรพา จะมอบรางวัลศรีบูรพาในงานวันนักเขียน ๕ พฤษภาคม ของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยเสมอ แต่สองปีมาแล้วที่สถานการณ์โควิดระบาด ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดงานมอบรางวัล ในปี ๒๕๖๓ กองทุนฯจึงได้จัดงานมอบรางวัลศรีบูรพา(แด่นายอรุณ วัชระสวัสดิ์) ณ บ้านศรีบูรพา โดยจำกัดจำนวนคนผู้เข้าร่วม ในปี ๒๕๖๔ นี้ สถานการณ์โควิดยังคงอยู่และคับขันมากขึ้น ดังนั้น กองทุนศรีบูรพา จึงจัดงานมอบรางวัลศรีบูรพาเผยแพร่ออนไลน์ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๔ โดยมอบรางวัลศรีบูรพา ประจำปี ๒๕๖๔ แด่นายสุริชัย หวันแก้ว) และรางวัลศรีบูรพาเกียรติยศ ในวาระครบรอบ ๑๑๖ ปีศรีบูรพา แด่นายรุ่งวิทย์…

นายสุริชัย หวันแก้ว นักคิด นักสันติวิธี และนักพัฒนาสังคมผู้ได้รับ “รางวัลศรีบูรพา” ประจำปี ๒๕๖๔

By Mod

คำประกาศเกียรติคุณ นายสุริชัย หวันแก้ว นักคิด นักสันติวิธี และนักพัฒนาสังคมผู้ได้รับ “รางวัลศรีบูรพา” ประจำปี ๒๕๖๔ นายสุริชัย หวันแก้ว เป็นนักคิด นักวิชาการด้านสันติวิธี และนักพัฒนาสังคม เผยแพร่ความคิดด้านสันติวิธีและการพัฒนาสังคมผ่านการสอน การเขียน การอภิปรายและการทำงานวิจัย มีผลงานวิจัยในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ชนบทศึกษา ธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วัฒนธรรม และผลกระทบจากการพัฒนา โลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรม และป่าชุมชุน มีผลงานรวมเล่มเป็นตำรา ผลงานวิจัยและหนังสือรวมบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษกว่า ๖๐ เล่ม และรายงานการวิจัยอีกกว่า ๑๐ เล่ม สุริชัย เกิดเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๒ จบการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม (สังคมวิทยา) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น( M.A. in Sociology (University of Tokyo) ๑๙๗๕…