๙๐ ปี เสนีย์ เสาวพงศ์ –แด่ คุณศักดิชัย บำรุงพงศ์
แด่ คุณศักดิชัย บำรุงพงศ์ “๙๐ ปี เสนีย์ เสาวพงศ์” ๙๐ ปี สง่าแม้น จอมพล เสนีย์ แห่งอักษรถกล เกียรติก้อง เสาว รสแก่ปวงชน คำชื่น พงศ์ หนังสือต่างพร้อง แผ่พื้นวรรณไสว ทาน…
แด่ คุณศักดิชัย บำรุงพงศ์ “๙๐ ปี เสนีย์ เสาวพงศ์” ๙๐ ปี สง่าแม้น จอมพล เสนีย์ แห่งอักษรถกล เกียรติก้อง เสาว รสแก่ปวงชน คำชื่น พงศ์ หนังสือต่างพร้อง แผ่พื้นวรรณไสว ทาน…
แด่ ลุงไสว มาลยเวช นักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม/นักเขียนรางวัลนราธิป เป็นเด็กหนุ่มตัวเล็กเล็กผู้เริงร่า ใจหาญกล้ายืนมั่นไม่หวั่นไหว เป็นคนหนังสือพิมพ์แสนอิ่มใจ ทำหนังสือก้าวไกลด้วยปัญญา ยามเผด็จการเรืองอำนาจมันกวาดจับ หนุ่มไสวพลอยรับเคราะห์กรรมกล้า ต้องเข้าคุกร่วมที่ “ศรีบูรพา” กายอ่อนล้าแต่ใจไม่อ่อนลง เป็นอาลักษณ์คัดลอกต้นฉบับ แอบส่งออกแบบลับลับตามประสงค์ “แลไปข้างหน้า”จึงเผยแผ่จึงยืนยง หนุ่มไสวคนส่งจึงผูกพัน กว่าจะผ่านด่านคุกออกมาได้ คือสี่ปีขังในทุกข์มหันต์ ตลอดชีพชื่อไสวจึงยืนยัน เป็นคนสู้กับอาธรรม์เสมอมา ยามเล่าเรื่องเก่าเก่าเร้าใจนัก ลุงหัวเราะคักคักยิ้มในหน้า “ลุงรับใช้ ดูแลศรีบูรพา” คนรุ่นหลังรินน้ำตาด้วยตื้นตัน คือตัวอย่างคนดีมีแนวทาง คือตัวอย่างผู้มีใจผู้ใฝ่ฝัน คือ “ไสว” หรือ “ไพศาล มาลาพันธุ์” ผู้ยืนยันผู้มั่นคงดำรงใจ ขอคารวะผู้จากไปคนใจแท้ ขอคารวะอาลัยแด่ ลุงไสว ขอเรียงคำร่ำรักเป็นมาลัย สู่สันตินิ่งในภพหน้าเทอญ ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ๑๕สิงหาคม ๒๕๕๑
สิ้นแล้ว”ชนิด สายประดิษฐ์”ภรรยาคู่ทุกข์ยาก”ศรีบูรพา”รูดม่านชีวิตเจ้าของนามปากกา”จูเลียต”วัย98ปี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. วันที่ 15 มิ.ย. นางชนิด สายประดิษฐ์ นักเขียน นักแปล เจ้าของนามปากกาจูเลียต ภรรยานายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา ได้เสียชีวิตลงด้วยวัย 98 ปี ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ นางดุษฎี พนมยงค์เผยว่า นางชนิดได้เข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคมะเร็งลำไส้เมื่ อสามอาทิตย์ก่อนหน้า โดยมีอาการทรงๆทรุดๆมาระยะหนึ่ง ก่อนจะเสียชีวิตลงอย่างสงบ ด้านนายสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตยเปิดเผยว่าจะมีพิธีรดน้ำศพวันที่ 16 มิถุนายน เวลา 17.00 น.ที่ศาลากลางน้ำ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และมีพิธีสวดพระอภิธรรมศพ 3 วัน ส่วนพิธีฌาปนกิจจะมีขึ้นเวลา 14.00น. วันที่ 19 มิถุนายน “ท่านเตรียมตัวรับวันนี้ไว้นานแล้ว อาจเพราะเห็นเรื่องราวต่างๆในชีวิตมามาก โดยช่วงหลังได้เขียนบันทึกไว้ตลอดเพื่อให้ลูกหลานได้ อ่าน ก็คาดว่าจะจัดทำเป็นหนังสือที่ระลึกต่อไป” นายสินธุ์สวัสดิ์กล่าว
๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ วันถือกำเนิดของ “สุภาพบุรุษ” ที่โลกให้การยอมรับและยกย่องในเวลา ๑๐๐ ปี ต่อมา นั่นคือ “กุหลาบ สายประดิษฐ์” กองทุนศรีบูรพา องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสานต่ออุดมการณ์ของกุหลาบ สายประดิษฐ์ โดยมีนายสุวัฒน์ วรดิลก (รพีพร) เป็นผู้ก่อตั้ง ได้จัดงานรำลึก ๑๐๒ ปี ศรีบูรพาขึ้น เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ณ ลานต้นนิโครธ วัดเทพศิรินทราวาส ชึ่งเป็นอนุสรณสถาน ที่บรรจุอัฐิของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ท่ามกลางบรรยากาศที่เรียบง่าย สงบงาม สมความเป็นศรีบูรพา มีนักคิด นักเขียน หลายท่านมาร่วมงาน อาทิ อาจารย์สุชาติ สวัสดิ์ศรี คุณศุปรีดา พนมยงค์ อาจารย์รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน คุณอิวากิ ยูจิโร นักเขียนชาวญี่ปุ่น คุณวัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพาคนล่าสุด (ประจำปี พ.ศ.2550)…
สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดงานเสนาวิชาการ พร้อมนิทรรศการศิลปะสะท้อนการเมืองไทย ชุด “เจ้าแกละกับเมืองไทยวันนี้” ผลงานของ สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย เสวนาวิชาการ หัวข้อ“ก่อนครบ ๑ ปี รัฐประหาร ๑๙ กันยา ๒๕๔๙ สังคมไทยได้เรียนรู้อะไร ?” วิทยากรเสวนา : อ.สุพจน์ ด่านตระกูล อ.จอน อึ้งภากรณ์ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อ.วิภา ดาวมณี ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล รศ.ประสิทธิ ปิวาวัฒนพานิชดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประวิตร โรจนพฤกษ์สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย : ดำเนินรายการ วันอาทิตย์ที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๓.๓๐-๑๘.๐๐ น.ณ ห้องประชุมสถาบันปรีดี พนมยงค์ ๖๕/๑ สุขุมวิท ๕๕ (ทองหล่อ) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนากรุงเทพมหานคร ๑๐๑๑๐ ภายในงานชมนิทรรศการย่อยขนาดเล็ก การแสดงออกทางศิลปะกับการเมืองชุด “เจ้าแกละกับเมืองไทยวันนี้” …
Virginia Woolf(๑๘๘๒ – ๑๙๔๑) ชาวอังกฤษ นักเขียนนวนิยายแนวทดลอง นักวิจารณ์ นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนความเรียง ชั้นนำในยุคสมัยของเธอ เกิดในย่าน Hyde Park Gate ปี ๑๘๘๒ เจ็บป่วยทางจิตใจครั้งแรกจากความตายของพ่อของเธอ Sir Leslie Stephen ในปี ๑๙๐๔ หลังจากนั้นย้ายมาอยู่ย่าน Bloombery เกิดกลุ่มวรรณกรรมในชื่อเดียวกันจากกลุ่มเพื่อนนักเขียนและศิลปินที่คบหา รวมทั้งร่วมกับสามี Leonard Woolf ตั้งสำนักพิมพ์ Hogarth Press ที่มีชื่อเสียงขึ้นในปี ๑๙๑๗ ด้วย เธอทำงานในช่วงสงบจากการเจ็บป่วยทางจิตใจเป็นระยะๆ มีผลงานอย่างต่อเนื่อง นวนิยายสองเรื่องแรกยังเป็นในรูปแบบตามนิยมกันมาก่อนหน้า จนเมื่อ Jacob’s Room ปรากฏขึ้นในปี ๑๙๒๒ จึงได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นงานที่มีนวัตการอย่างสูง จากนั้น Mrs Dolloway (๑๙๒๕) ก็ได้รับการวิจารณ์ว่าพัฒนาขึ้นอย่างมากด้วยวิธีเขียนที่ใช้บทสนทนาภายใน (Interior Monologue) หรือกระแสสำนึก (Stream of Consciousness) และเน้นบุคลิกตัวละครมากกว่าเค้าโครงเรื่อง…