ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์

By Admin

ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๖๑ ที่อำเภอบางบ่อ สมุทรปราการ เริ่มการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิ  จบชั้นมัธยมต้นและปลายที่โรงเรียนบพิตรพิมุข จากนั้นสอบเข้าคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหา-วิทยาลัยได้ แต่เรียนได้เพียงเดือนเดียวบิดาถึงแก่กรรม ไม่มีเงินเรียนต่อ จึงไปทำงานหนังสือพิมพ์ และศึกษาวิชากฎหมายที่มหา-วิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองไปด้วย  ทำงานหนังสือพิมพ์มาโดยตลอด แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ข่าวต่างประเทศถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดจึงเลิกทำหนังสือพิมพ์ และเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจนเกษียณอายุราชการ ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตที่ประเทศพม่า เริ่มมีผลงานเขียนเผยแพร่สม่ำเสมอตั้งแต่ทำงานหนังสือพิมพ์ นิยมใช้ฉากต่างประเทศ นวนิยายเรื่องแรกเป็นที่นิยมมาก และทำให้มีชื่อเสียงอย่างรวดเร็วคือ ชัยชนะของคนแพ้  ตามมาด้วย ฟ้าแมนจู และ ชีวิตบนความตาย  หลังจากเข้ารับราชการแล้ว มีผลงานแปลคือ วาระสุดท้ายของเซวัสโตโปล และต่อมานวนิยายที่ได้รับการยอมรับและยกย่องว่าเป็น “หมุดหมาย” ที่สำคัญในเส้นทางวรรณกรรมไทยคือ ความรักของวัลยา และ ปีศาจ ได้รับการประกาศเกียรติ-คุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อปี ๒๕๒๘ได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนแรก (๒๕๓๑)

อ.ไชยวรศิลป์

By Admin

อ.ไชยวรศิลป์ ชื่อจริงคือ อำพัน ไชยวรศิลป์  เกิดเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๐ ที่อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนคริสต์ประดิษฐ์มโนวงศ์ จังหวัดเชียงใหม่ และย้ายไปเรียนที่อื่นอีกหลายแห่งตามที่บิดาย้ายไปรับราชการ แต่สุดท้ายกลับไปจบชั้นมัธยม ๖ ที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มเขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ “หนทางรัก” เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี โดยใช้นามปากกา อ.ไชยวรศิลป์ จากนั้นจึงเขียนเรื่อยมา นวนิยายเรื่องแรกชื่อ เกิดเป็นคน เรื่องที่ทำให้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักอ่านคือ ฉันเขียนเรื่องนี้เพื่อเธอ และ แม่สาย ะอื้น มีผลงานเรื่องสั้นประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ เรื่อง และนวนิยายอีกกว่า ๔๐ เรื่อง สารคดีเรื่อง นิยายเมืองเหนือ ได้รับรางวัลยูเนสโก ประจำปี ๒๕๓๐ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ ด้วยวัย ๗๒ ปี ขณะกำลังเขียนนวนิยายเรื่องสุดท้ายชื่อ ก่อนชีวาจะลาลับได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนที่ ๒ (๒๕๓๒)

คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง

By Admin

คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง ถือกำเนิดในครอบครัวข้าราชการชั้นผู้น้อย มารดาเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก บิดาเป็นผู้เห็นความสำคัญของการศึกษาและการอ่านหนังสือ จึงได้รับการปลูกฝังความคิดนี้มาแต่เยาว์วัย เมื่อจบชั้นมัธยม ๖ จากโรงเรียนเบญจมราชาลัย ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ จนได้วุฒิ ป.ป. แล้วจึงสอบเข้าศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬา-ลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ (เป็นรุ่นที่ ๔ ปี ๒๔๗๗)  เมื่อจบการศึกษาแล้วเป็นครูสอนหนังสืออยู่ประมาณ ๑ ปี จากนั้นจึงย้ายไปรับราชการในกรมโฆษณาการอยู่ ๙ ปี จึงลาออกเมื่อปี ๒๔๙๑ และหันมาทำงานด้านบรรณาธิการ และรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการนิตยสาร “สตรีสาร” เมื่อปี ๒๔๙๒ หลังจากนั้นจึงเปิด “ดรุณสาร”  สำหรับเยาวชน และ “สัปดาห์สาร” สำหรับเรื่องข่าวสาร โดยรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการทั้งสามเล่ม แต่สตรีสารเป็นนิตยสารที่อายุยืนยาวที่สุด เป็นนิตยสารที่ได้รับรางวัลพระเกี้ยวทองคำ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนิตยสารที่ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น เมื่อปี ๒๕๓๐ และได้ดำเนินกิจการต่อมาจนถึงปี ๒๕๓๙ จึงได้ปิดตัวลงโดยบรรณาธิการตั้งใจ เนื่องจากเห็นแนวโน้มที่นิตยสารจะต้องปรับตัวไปเป็น “อื่น” รวมอายุ ตรี ารได้ ๔๘ ปี นอกจากนี้ยังเคยก่อตั้ง…

อาจินต์ ปัญจพรรค์

By Admin

อาจินต์ ปัญจพรรค์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๐ ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ได้รับการศึกษาชั้นประถม ๑ และ ๒ จากโรงเรียนราชินี บูรณะนครปฐม ชั้นประถม ๓ ถึง มัธยม ๒ ที่โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม ชั้นมัธยม ๒-มัธยม ๖ ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ กรุงเทพฯ และศึกษาชั้นมัธยม ๗-๘ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ไม่จบ เริ่มเขียนหนังสือเมื่อปี ๒๔๙๒ เรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” ตีพิมพ์ในนิตยสารพิมพ์ไทยรายเดือน และจากประสบการณ์ที่ได้ไปทำงานเหมืองแร่ในภาคใต้ ทำให้ได้ผลงานทั้งเรื่องสั้นและนวนิยายที่เกี่ยวกับเหมืองแร่มากมาย อาทิ ตะลุยเหมืองแร่, เสียงเรียกจากเหมืองแร่, สวัสดีเหมืองแร่, นักเลงเหมืองแร่, เดี่ยวเหมืองแร่ จากนั้นจึงตามมาด้วยเรื่องราวที่ว่าด้วยประสบการณ์ชีวิต แม่น้ำยามศึก, นิสิตเถื่อน, วัยบริสุทธิ์ และ ร่ายยาวแห่งชีวิต นวนิยายที่เขียนขึ้นในยุคหลังได้แก่ เหมืองทองแดง และ เจ้าพ่อ-เจ้าเมือง…

สุจิตต์ วงษ์เทศ

By Admin

สุจิตต์ วงษ์เทศ เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๔๘๘ ที่บ้านด่าน ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี เริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดต้นโพธิ์ เมื่อจบชั้นประถมแล้วไปเรียนต่อกรุงเทพฯ โดยเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษา ๑-๖ ที่โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม และต่อชั้นมัธยมศึกษา ๗ ที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ แผนกวิทยาศาสตร์ แต่สอบตก จึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนผดุงศิษย์พิทยา จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ จึงสอบเข้าต่อคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมศึกษา ๗ ที่วัดนวลนรดิศ เคยทำงานหนังสือพิมพ์หลายแห่ง ผลงานรวมเล่มเล่มแรกเป็นกลอน เขียนร่วมกับขรรค์ชัย บุนปาน คือ นิราศ ตามด้วย กลอนลูกทุ่ง เขียนได้ทั้งกลอนและทั้งนวนิยาย ผลงานรวมเล่มที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เรื่องสั้นชุด ขุนเดช และนวนิยายขนาดสั้น หนุ่มหน่ายคัมภีร์ รวมบทร้อยกรองชุดเสภา ได้แก่ เสภาไพร่, เสภาน้ำท่วม หาบเร่ และ เสภาเผด็จการได้รับประกาศเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อปี ๒๕๔๕ได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนที่ ๕ (๒๕๓๖)

สุลักษณ์ ศิวรักษ์

By Admin

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เกิด ๒๗ มีนาคม ๒๔๗๕ ที่กรุงเทพฯ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจนถึงมัธยม-ศึกษา ๘ จากโรงเรียนอัสสัมชัญ หลังจากนั้นไปเรียนต่อทางด้านมนุษยศาสตร์ (สาขาประวัติ-ศาสตร์และปรัชญา) ที่ St. David College Lampeter และศึกษาต่อด้านกฎหมายที่วิทยาลัย Middle temple จนได้เป็นเนติบัณฑิตเมื่อปี ๒๕๐๔ สนใจการเขียนการอ่านมาแต่เยาว์วัย บทความชิ้นแรก คือ “ภายในดินแดนพุทธจักร” ใช้นาม ส.ศิวรักษ์ ตีพิมพ์ในพุทธจักรรายเดือนของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ขณะเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๕  จากนั้นก็เป็นนักเขียน เป็นนักคิด นักพูด และนักกิจกรรมสังคมเรื่อยมา มีผลงานพิมพ์รวมเล่มแล้วมากกว่า ๑๐๐ เล่ม ส่วนใหญ่เป็นบทความการบรรยายในที่ต่าง ๆ และสารคดีชีวประวัติ อาทิ ลายสือสยาม, ฝรั่งอ่านไทย, สมุดข้างหมอน, ตีนติดดิน, นายป๋วย  อึ๊งภากรณ์ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน), คันฉ่องส่องศาสนา เป็นต้น ได้รับรางวัลและการประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ มากมาย เมื่อปี…