ประกาศเกียรติคุณ “รางวัลศรีบูรพา” ประจำ 2552 แด่ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

By Mod

คณะกรรมการกองทุนศรีบูรพา มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมสมควรได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2552 นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นนักประวัติศาสตร์ นักคิด นักเขียน และครู เกิดเมื่อวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม  2484 ที่อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อจบชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดราชบุรีแล้ว จึงสอบเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ ร.ร. สวนกุหลาบวิทยาลัย และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามลำดับ จบเป็นบัณฑิตสอบได้ที่ 1 เกียรตินิยมดี และได้รับรางวัลภูมิพล 6 เดือน จากนั้นได้รับทุน จากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ไปศึกษาต่อปริญญาโททางการทูตทีสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา2 ปี จากนั้นต่อระดับปริญญาเอก ด้าน South East Asian History  ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล มลรัฐนิวยอร์ก 5 ปี โดยเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง The Rise of Ayudhya เมื่อกลับมาประเทศไทย เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์…

๓๑ มีนาคม…ครบรอบชาตกาล ๑๐๔ ปี “ศรีบูรพา” เขียนโดย กฤติธ์ศิลป์ ศักดิ์ศิริ

By Mod

เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคมที่ผ่านมา กองทุนศรีบูรพาร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย นำโดย ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนฯ ในฐานะกรรมการและเลขานุการกองทุนศรีบูรพา ได้จัดงานวันครบรอบชาตกาล ๑๐๔ ปี “ศรีบูรพา” (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ขึ้นดังเช่นทุกปีสำหรับในช่วงเช้าเป็นการทำบุญถวายสังฆทานพร้อมเลี้ยงพระเพล ณ ศาลามณเฑียร วัดเทพศิรินทราวาส โดยผู้ที่มาร่วมแสดงความน้อมรำลึกถึง “ศรีบูรพา” นั้น นอกเหนือจากคณะกรรมการกองทุนศรีบูรพา ครอบครัวสายประดิษฐ์ และทีมงานจากสมาคมนักเขียนฯ แล้ว ยังพร้อมพรั่งไปด้วยแขกผู้มีเกียรติซึ่งคุ้นหน้าคุ้นตากันดีอย่าง ดุษฎี พนมยงค์, สุดา พนมยงค์, จีรวรรณ พนมยงค์, สัมพันธ์ ก้องสมุทร, สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย ฯ รวมถึง อาจารย์นพมาตร พวงสุวรรณ อาจารย์หมวดวิชาภาษาต่างประเทศจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ที่นำนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์มาคารวะศิษย์เก่าอย่าง“ศรีบูรพา”      “ศรีบูรพา” หรือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ท่านเป็นทั้งนักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก หรือองค์การวิทยาศาสตร์…

พระไพศาล วิสาโล คว้ารางวัลศรีบูรพา ปี 53

By Mod

เมื่อวันที่ 17 มี.ค.กองทุนศรีบูรพา เปิดเผยชื่อผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2553 ว่า คณะกรรมการกองทุนศรีบูรพา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้พระไพศาล วิสาโล เป็นผู้สมควรได้รับรางวัลศรีบูรพาในปีนี้ โดยจะมีพิธีมองรางวัลที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ ถ.สุขุมวิท ในวันที่ 5 พ.ค. พร้อมกับงานวันนักเขียน ซึ่งจัดโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย โดยผู้ได้รับรางวัลจะกล่าวสุนทรกถาด้วย สำหรับรางวัลศรีบูรพา เป็นกิจกรรมหนึ่งของ “กองทุนศรีบูรพา” ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรำลึกและเผยแพร่เกียรติประวัติของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ “ศรีบูรพา” นักประชาธิปไตย นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทยและของโลก เพื่อมอบแก่ศิลปิน นักคิด นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ ผู้มีผลงานอันทรงคุณค่า มีชีวิตที่เป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตที่ดีงามและแบบ ฉบับการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าต่อสังคม โดยมีผู้ได้รับรางวัลมาแล้ว 21 คน คือ นายศักดิชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์) น.ส.อำพัน ไชยวรศิลป์ (อ.ไชยวรศิลป์) คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง นายอาจินต์ ปัญจพรรค์ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์…

สังคมขัดแย้งแตกแยกหลักธรรมพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะหยุดได้ / สัมภาษณ์พระไพศาล วิสาโล

By Mod

เด่น นาคร รายงาน คมชัดลึก : หากการกำเนิดขึ้นของรางวัลศรีบูรพา คือเพื่อรำลึกและเผยแพร่เกียรติประวัติของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา นักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักประชาธิปไตยคนสำคัญของไทยและของโลกแล้ว การมอบรางวัลศรีบูรพาให้ใครสักคนหนึ่ง จึงแน่นอนว่าผลงานความคิด คมปากกา หรือวัตรปฏิบัติของคนคนนั้น ก็ย่อมเป็นวิถีอันควรค่าต่อการยึดถือเป็นแบบอย่างต่อการครุ่นคิด เตือนสติ สร้างเสริมปัญญา ตลอดจนสรรค์สร้างสิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในสังคมต่อไป เฉกเช่นเดียวกับที่ศรีบูรพาเคยทำประดับโลกใบนี้มาแล้ว กว่า 20 ปีของการประกาศเกียรติมอบรางวัลอันทรงคุณค่านี้ หากทอดตาที่รายชื่อของผู้ได้รับรางวัลก็ล้วนแต่ควรค่าต่อการยอมรับนับถือในผลงานกันทั้งสิ้น เช่นกัน ในปี 2553 นี้ บุคคลที่ได้รับการประกาศเกียรติยกย่องให้ได้รับรางวัลนี้ก็หาได้มิสมฐานะแต่อย่างใดไม่ ตรงข้าม ผลงานเขียนของท่านที่ตีพิมพ์ออกมาเกือบ 100 เล่ม ตลอดการทำงานเขียนมาเป็นเวลาหลายสิบปี บวกกับการจาริกเทศนาธรรมยังที่ต่างๆ นั้น ล้วนแต่คือคมคิดที่ทุกคนต้องเรียนรู้และตระหนัก ด้วยมันคือแนวทางในการสร้างสังคมสันติสุขให้เกิดมีร่วมกันนั่นเอง บ้านเมืองที่ผู้คนแบ่งฝักฝ่ายชัดเจน จนนำไปสู่ความแตกแยกทางความคิด กระทั่งเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ขาดสติ เผาบ้านเผาเมือง หรือแม้แต่การกรีดเลือดทาแผ่นดิน…ทั้งหลายทั้งปวงที่สารพัดจะวุ่นวาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายทุกคนต้องมีสติ และหยุดรับฟังความคิดความเห็นของบุคคลที่ควรค่าต่อการนับถือยอมรับร่วมกัน เช่นนี้ แม้ไม่อาจจะเรียกได้ว่า การประกาศให้ พระไพศาล วิสาโล…

อดีต “ซ้าย-อหิงสา” ยุคมืด พระไพศาล วิสาโล ยืนยัน “สันติ-ธรรม…คือสุข”

By Mod

อดีต “ซ้าย-อหิงสา” ยุคมืด พระไพศาล วิสาโล  ยืนยัน “สันติ-ธรรม…คือสุข” สถานการณ์การเมืองที่กำลังร้อนแรงในขณะนี้ มีหลายฝ่ายออกมามีบทบาท รวมถึง “พระสงฆ์” ในพระพุทธศาสนา ซึ่งในส่วนของฝ่ายสงฆ์นั้น ก็มีพระหลายรูปออกมาให้สติ เพื่อมิให้สถานการณ์ดำเนินไปสู่ความรุนแรง ในจำนวนนี้ก็มีพระสงฆ์ซึ่งได้รับ “รางวัลศรีบูรพา” ประจำปี 2553 ในฐานะพระนักวิชาการ นักคิดนักเขียนทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ ซึ่งท่านเป็นนักปฏิบัติธรรม เป็นนักบรรยายธรรมที่ผลิตผลงานออกมาในรูปสื่อโทรทัศน์ และหนังสืออย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน พระสงฆ์รูปนี้คือ “พระไพศาล วิสาโล” พระไพศาล วิสาโล เดิมชื่อ ไพศาล วงศ์วรวิสิทธิ์ พื้นเพเป็นชาวกรุงเทพฯ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2500 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนกศิลปะ จากโรงเรียนอัสสัมชัญ และสำเร็จการศึกษาขั้นอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ระหว่างเรียนที่ธรรมศาสตร์ เคยเป็นสาราณียกรของปาจารยสาร (2518-2519) และเป็นเจ้าหน้าที่กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม ช่วงปี 2519-2526 โดยมีบทบาทร่วมในแนวทาง   “อหิงสา” ต่อ เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519…

ประวัติและผลงาน พระไพศาล วิสาโล นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ปี 2553

By Mod

ประวัติผู้รับรางวัลพระไพศาล วิสาโล พระไพศาล วิสาโล เป็นพระนักคิด นักวิชาการ นักเขียนชั้นแนวหน้าท่านหนึ่ง ในหมู่ผู้แสวงหาทางออกให้แก่สังคมและโลกโดยสันติวิธี ท่านมีผลงานเขียนและงานแปลสม่ำเสมอ  นอกจากนี้ยังเป็นบรรณาธิการหนังสือหลายฉบับ เคยได้รับรางวัล“ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์” ครั้งที่ ๒ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จากผลงานหนังสือ “พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤติ” ในสาขาศาสนาและปรัชญา กำเนิดเดิมชื่อว่า  ไพศาล วงศ์วรสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่กรุงเทพมหานคร การศึกษาเข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯและต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้าที่การงาน เริ่มทำกิจกรรมตั้งแต่อยู่โรงเรียนอัสสัมชัญ  เมื่ออยู่มหาวิทยาลัยก็เป็นบรรณาธิการบริหารหนังสือปาจารยสาร ซึ่งมีแนวทางในการประยุกต์พุทธธรรมและอหิงสธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันและทำกิจกรรมในชมรมพุทธศาสตร์และประเพณี ไม่เชื่อในแนวทางมาร์กซิส   แต่กลับถูกมองว่าเป็นทั้ง “ซ้าย” และ “ขวา” กล่าวคือ ด้วยความที่สนใจการเมืองจึงถูกมองว่าเป็นพวกซ้าย ขณะเดียวกัน ความสนใจในพระพุทธศาสนาก็ทำให้นักศึกษาด้วยกันมองว่าเป็นพวกขวา ในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ได้ชุมนุมอย่างสงบในตึกเรียนแยกจากนักศึกษา เป็นการชุมนุมอดอาหารเรียกร้องคณะสงฆ์พิจารณาประเด็นที่เปิดโอกาสให้จอมพลถนอม กิตติขจร…