สุนทรกถาใน โอกาสรับรางวัลศรีบูรพา : โดย พระไพศาล วิสาโล

By Mod

รางวัลศรีบูรพานั้นถือกันว่าเป็นรางวัลที่ทรงเกียรติอย่างยิ่งสำหรับนัก เขียนนักประพันธ์ในประเทศนี้ แต่อาตมาขอสารภาพว่า การขึ้นมากล่าวสุนทรกถาในฐานะผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพานั้น เป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะบังเกิดกับตนเอง เพราะแม้อาตมาจะเขียนหนังสือมานานกว่า ๓๐ ปี แต่ก็ไม่สามารถกล่าวอย่างเต็มปากว่าตนเองเป็นนักเขียนนักประพันธ์ จะเป็นได้อย่างมากก็นักเขียนสมัครเล่น ซึ่งไม่อาจเทียบชั้นเสมอนักเขียนชั้นครูหรือนักประพันธ์อาวุโสทั้งหลายที่ เป็นเจ้าของรางวัลอันทรงเกียรตินี้ตลอด ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา ยิ่งกว่านั้นงานเขียนของอาตมาก็ไม่เคยแม้แต่จะเฉียดกรายเข้าใกล้แวดวง วรรณกรรมหรือวงการหนังสือพิมพ์ อันเป็นแวดวงที่ศรีบูรพาได้บุกเบิกสร้างสรรค์และฝากผลงานไว้มากมาย ทั้งนี้มิจำเป็นต้องเอ่ยว่าในอดีตไม่เคยมีพระภิกษุที่ได้รับรางวัลนี้ ด้วยเหตุนี้การได้รับรางวัลศรีบูรพาจึงเป็นเรื่องที่เหนือการคาดคิดของอาตมา ศรีบูรพาหรือกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นนักประพันธ์และนักหนังสือพิมพ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของไทย เป็น “สุภาพบุรุษ” ที่มั่นคงในอุดมคติและเปี่ยมด้วยคุณธรรมอันน่ายึดถือเป็นแบบอย่าง อาตมาจึงรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลที่ตั้งขึ้นในนามของท่าน คงไม่ต้องกล่าวย้ำในที่นี้ว่ารางวัลศรีบูรพานั้นมีความหมายอย่างไรสำหรับวง การนักเขียนนักประพันธ์ของไทย แต่มีข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งก็คือ ทั้ง ๆ ที่รางวัลศรีบูรพาเป็นเครื่องรับรองสถานะและเพิ่มพูนเกียรติยศแก่นักเขียน แต่ตลอดชีวิตของศรีบูรพา ท่านหาเคยได้รับรางวัลใด ๆ ไม่ ไม่ว่าจากวงการวรรณกรรมและวงการหนังสือพิมพ์ ทั้งไม่เคยได้รับเกียรติยศใด ๆ ในระดับประเทศ ทั้ง ๆ ที่ท่านมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อวงการดังกล่าวและได้อุทิศตนเพื่อประเทศชาติมา โดยตลอด ในทางตรงข้ามท่านกลับถูกจับกุมคุมขังถึง ๒ ครั้ง และกลายเป็นบุคคลผู้ไม่พึงปรารถนาในสายตาของผู้มีอำนาจจนต้องลี้ภัยอยู่ใน ต่างประเทศกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ชีวิตของศรีบูรพาคือชีวิตของผู้ที่อยู่แถวหน้าในการต่อสู้กับเผด็จการและ อำนาจที่ไม่เป็นธรรม แม้จะประสบเภทภัยเพียงใด ก็ไม่ท้อแท้ท้อถอย หากยังคงมุ่งมั่นต่อสู้ตามอุดมคติปณิธานของตน นั่นเป็นเพราะท่านมีจิตใจมั่นคง…

พระไพศาล วิสาโล พระนักเขียนรางวัล ศรีบูรพาปี 2553

By Mod

พระนักปราชญ์ ผู้มองเห็นถึงปัญหาทั้งในเชิงปัจเจกและโครงสร้างของสังคม และเป็นกำลังสำคัญในหมู่ผู้แสวงหาทางออกให้กับสังคมไทยและโลกโดยสันติ พระ ไพศาล วิสาโล ได้ชื่อว่าเป็นพระนัก ปราชญ์ เป็นนักคิด-นักเขียนชั้นแนวหน้าของเมืองไทย ผู้มองเห็นถึงปัญหาทั้งในเชิงปัจเจกและในเชิงโครงสร้างของสังคม และเป็นกำลังสำคัญในหมู่ผู้แสวงหาทางออกให้กับสังคมไทยและโลกโดยสันติวิธี โดยเฉพาะในสถานการณ์การเมืองขณะนี้แนวทางสันติวิธีหรือมาตรการปรองดองแห่ง ชาติน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ตลอดระยะ เวลาที่อยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ 27 ปี พระไพศาล วิสาโล เป็นนักธรรมผู้สร้างสะพานเชื่อมธรรมะสู่คนรุ่นใหม่ เป็นพระสงฆ์นักกิจกรรมหัวก้าวหน้าที่สามารถเชื่อมโยงความรู้ทางด้านพุทธธรรม มาอธิบายปรากฏการณ์ของชีวิตและสังคม ในบริบทของสังคมสมัยใหม่อย่างเข้าใจง่าย ชัดเจนเป็นรูปธรรม อธิบายหลักธรรมที่ยากและลึกซึ้งให้เป็นเรื่องง่ายต่อการทำความเข้าใจ รวมทั้งยังเป็นผู้ถ่ายทอดและสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งงานเขียน งานแปล และงานบรรณาธิกรณ์ โดยมีผลงานเขียนมากกว่า 100 เล่ม และเมื่อปี 2548 หนังสือชื่อ “พุทธศาสนาไทยในอนาคต : แนวโน้มและทางออกจากวิกฤติ” ยังได้รับรางวัลชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ในสาขาศาสนาและปรัชญาอีกด้วย ล่าสุด คณะกรรมการ กองทุนศรีบูรพา ได้ประกาศเกียรติคุณ ให้ พระไพศาล วิสาโล เป็นผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2553 นับเป็นผู้ได้รับรางวัลลำดับที่ 22 โดยพิธีมอบรางวัลอย่างเป็นทางการจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5…

สิ้นแล้ว”ชนิด สายประดิษฐ์”ภรรยาคู่ทุกข์ยาก”ศรีบูรพา”

By Mod

สิ้นแล้ว”ชนิด สายประดิษฐ์”ภรรยาคู่ทุกข์ยาก”ศรีบูรพา”รูดม่านชีวิตเจ้าของนามปากกา”จูเลียต”วัย98ปี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. วันที่ 15 มิ.ย. นางชนิด สายประดิษฐ์ นักเขียน นักแปล เจ้าของนามปากกาจูเลียต ภรรยานายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา ได้เสียชีวิตลงด้วยวัย 98 ปี ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ นางดุษฎี พนมยงค์เผยว่า นางชนิดได้เข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคมะเร็งลำไส้เมื่ อสามอาทิตย์ก่อนหน้า โดยมีอาการทรงๆทรุดๆมาระยะหนึ่ง ก่อนจะเสียชีวิตลงอย่างสงบ ด้านนายสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตยเปิดเผยว่าจะมีพิธีรดน้ำศพวันที่ 16 มิถุนายน เวลา 17.00 น.ที่ศาลากลางน้ำ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และมีพิธีสวดพระอภิธรรมศพ 3 วัน ส่วนพิธีฌาปนกิจจะมีขึ้นเวลา 14.00น. วันที่ 19 มิถุนายน “ท่านเตรียมตัวรับวันนี้ไว้นานแล้ว อาจเพราะเห็นเรื่องราวต่างๆในชีวิตมามาก โดยช่วงหลังได้เขียนบันทึกไว้ตลอดเพื่อให้ลูกหลานได้ อ่าน ก็คาดว่าจะจัดทำเป็นหนังสือที่ระลึกต่อไป” นายสินธุ์สวัสดิ์กล่าว

การเดินทางแสนยาวไกล ชนิด สายประดิษฐ์ (จูเลียต) โดย : พรชัย จันทโสก : เรียบเรียง

By Mod

กุหลาบแกร่งคู่ชีวิต ‘ศรีบูรพา’ เจ้าของนามปากกา ‘จูเลียต’ ยังคงยืนหยัดอยู่อย่างมั่นคงและเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของคนวรรณกรรม แม้ว่า ‘กุหลาบ สายประดิษฐ์’ หรือ ‘ศรีบูรพา’ จะจากไปนานถึง 36 ปี หรือเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2517 แต่ภรรยาคู่ชีวิต ‘ชนิด สายประดิษฐ์’ เจ้าของนามปากกา ‘จูเลียต’ ยังคงยืนหยัดอยู่อย่างมั่นคงและเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของคนวรรณกรรม ก่อนจะจากไปอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2553 สิริรวมอายุ 97 ปี โดยพิธีฌาปนกิจจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ วัดเทพศิรินทร์ ตลอดชีวิตของ ‘ชนิด สายประดิษฐ์’ นอกจากจะเป็นภรรยาร่วมทุกข์ร่วมสุขกับ ‘กุหลาบ สายประดิษฐ์’ นักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกแล้ว นักอ่านจำนวนมากยังรู้จักในฐานะเจ้าของนามปากกา ‘จูเลียต’ นักแปลวรรณกรรมคลาสสิก ชนิด สายประดิษฐ์ เดิมชื่อว่า ชนิด ปริญชาญกล เกิดเมื่อวันที่…

กราบคารวะ คุณชนิด สายประดิษฐ์ / ชมัยภร แสงกระจ่าง

By Mod

โอ ดอกไม้สายประดิษฐ์สถิตสวรรค์มาจากกันจากไกลไปแล้วหรือเคยเกรียวกราวแกร่งกมลจนเลื่องลือเคยหยัดยื้อยืนกล้ามาทุกคราว คือ “จูเลียต” ยอดรักสลักจิตคือผู้หญิงยิ่งสนิททางทุกก้าวคือผู้ก่อความชื่นให้ยืนยาวคือผู้เปลี่ยนความปวดร้าวให้เป็นดี คือ “จูเลียต”ผู้อาจหาญชาญอักษรคือผู้หญิงผู้มาก่อนในทุกที่มีชีวิตเพื่อ “ศรีบูรพา” มานานปีมีชีวีเพื่อ “ศรีบูรพา” มานานไกล คือ “จูเลียต” ผู้เห็นโลกประจักษ์แจ้ง“กาลเวลา” ทุกหนแห่งกระจ่างใสทุกย่างก้าวงามชัดถนัดใจทุกก้าวไปก็ยังชัดถนัดตา ขอดอกไม้สายประดิษฐ์สถิตสวรรค์ขอชื่อยังเฉิดฉันอยู่ในหล้าขอได้พบกันครานี้ “ศรีบูรพา”ขอรักยืนสวรรยาชั่วกาลนาน ชมัยภร  แสงกระจ่างนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓

จนกว่าเราจะพบกันอีก (ศรีบูรพา)

By Mod

รักคือการ…(เติมคำในช่องว่าง) มีความคิดหลายอย่างของคุณกุหลาบที่เราไม่เห็นด๊วย…ไม่เห็นด้วย แต่ระหว่างที่อ่าน จนกว่าเราจะพบกันอีก ก็ไม่ได้รู้สึกต่อต้านความคิดเหล่านี้นัก คงเพราะ ไม่ว่ามันจะเชย หรือผิดสักแค่ไหน แต่อย่างไรนี่ก็คือหนังสือที่เขียนตั้งแต่ปี 2443 ถ้าคุณกุหลาบจะเป็นคนไทยคนแรกที่เขียนว่า “รักคือการให้” เราจะไม่แปลกใจแม้แต่น้อย เราจึงคิดได้ว่า บางทีสาเหตุที่เราต่อต้านความคิดเชิงอุดมคติ อาจไม่ใช่เพียงเพราะเราเห็นว่ามันผิด แต่เพราะเรารู้สึกว่ามันเป็นคำพูดที่จดจำกันมาปากต่อปาก มากกว่าจะมาจากการใคร่ครวญส่วนบุคคล ภาษา และการเรียบเรียงอักษรของคุณกุหลาบมีลักษณะซึ่งติดตรึงเรา ถึงแม้ จนกว่าเราจะพบกันอีก จะไม่ใช่นิยายที่ดีเลิศอะไรนัก (ไม่ดีเท่า ข้างหลังภาพ ไม่ต้องพูดถึงอาจารย์มนัส นักเขียนรุ่นเดียวกัน) ถึงแม้ความคิดจะตกยุค พ้นสมัย แต่ความจริงใจในการนำเสนอ ก็ทำให้ จนกว่าเราจะพบกันอีก เป็นหนังสือที่เรากล้าชักชวนให้คนอื่นมาอ่าน แบ่งปันความเชยกัน พูดถึงโจทย์ที่ตั้งไว้ตอนแรก เราว่า รักไม่ใช่การให้หรอก แต่ “รักคือความสุขอันเกิดจากการให้” เชยไหม? ^^