‘ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์’ รางวัลศรีบูรพาแด่สันติภาพ

By Mod

หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตา ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ บนหน้าจอโทรทัศน์ บนเวทีเสวนา และหน้าชั้นเรียน ในฐานะนักวิชาการผู้เป็นสัญลักษณ์ของความสมานฉันท์ และเป็นอาจารย์หน้าดุใจดีที่พร่ำสอนลูกศิษย์ให้รู้จักการเมืองเชิงสันติ แต่อีกด้านหนึ่งของ ดร.ชัยวัฒน์ คือ นักเขียน ที่ ณ วันนี้ เป็นเจ้าของรางวัลศรีบูรพาประจำปี 2555 แล้ว ดร.ชัยวัฒน์ มีผลงานทางวรรณกรรมหลากหลายประเภท ทั้งด้านวิชาการ งานแปล สารคดี ไปจนถึงทำหน้าที่บรรณาธิการ แต่กว่าที่เขาจะมาเป็น ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างในปัจจุบัน เขาได้รับรางวัลทุนเรียนดีภูมิพล เรียนจบรัฐศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นเขาก็ได้ทุนการศึกษาจาก East West Center ไปเรียนต่อจนจบการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตจาก University of Hawai’i สหรัฐอเมริกา ไม่เพียงเท่านั้น วิทยานิพนธ์ในสาขาปรัชญา-ทฤษฎีการเมืองสันติวิธีเรื่อง The Nonviolent Prince ของเขายังถูกเสนอชื่อเพื่อพิจารณาให้รับรางวัล 1982 Council of Graduate Schools/University Microfilms, International Dissertation Award…

ธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียนรางวัลศรีบูรพา คนที่ 25

By Mod

ประวัติย่อ ธีรภาพ โลหิตกุล เป็นนักเขียนสารคดีอิสระ ที่มีคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับและเป็นวิทยากรพิเศษถ่ายทอด เทคนิคการเขียนสารคดีในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ธีรภาพ  เป็นชาวกรุงเทพ  เกิด เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2501 เรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จบปริญญาตรีคณะสังคมศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเคยดำรงตำแหน่งนายกองค์การ บริหารองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2525 เริ่มทำงานเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์หญิงยุคใหม่ต่อมาย้ายมาประจำกอง บ.ก. นิตยสารไฮคลาส, อนุสาร อสท.  และเคยเขียนบทสารคดีโทรทัศน์ในรายการโลกสลับสี สร้างผลงานสารคดีชุดแม่น้ำเจ้าพระยา, นครวัด นครธม ฯลฯ ต่อมาในปี 2537 ลาออกมาเป็นนักเขียนอิสระ มีผลงานรวมเล่มมากมาย อาทิ สายน้ำและความทรงจำ, คนโยนฟืน, คือคนดลใจ เป็นต้น ธีรภาพ เป็นคนรักการอ่านเพราะได้รับอิทธิพลมาจากคุณฯพ่อและพี่ชาย จนกลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้เขาอยากเขียนหนังสือ ส่วนเทคนิคงานเขียนในแบบฉบับของ ธีรภาพ คือทำสารคดีให้มีชีวิต เขียนสารคดีให้เป็นบันเทิงคดี รวมทั้งต้องนำเสนอแต่ข้อเท็จจริง และที่สำคัญต้องเรียงร้อยเรื่องราวอย่างมีศิลปะ ผลงานบทความสารคดีรวมเล่ม  (ถึงตุลาคม 2551) ๑.คืนสู่พงไพรและสายน้ำ รวมผลงานสารคดีธรรมชาติและชีวิตสัตว์ จากนิตยสารไฮ-คลาส ช่วงปี ๒๕๒๗-๒๕๒๙…

ศรีดาวเรือง นักเขียนรางวัลศรีบูรพา 2557

By Mod

นามปากกา ศรีดาวเรือง  ได้แจ้งเกิดบนถนนวรรณกรรม  จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา  36 ปีแล้ว  ศรีดาวเรือง  นามปากกาของ  วรรณา  สวัสดิ์ศรี  (นามสกุลเดิม  ทรรปนานนท์)  ผลงานที่ผ่านการกลั่นกรองและถ่ายทอดออกมาเป็นงานเขียนทุกชิ้น  สื่อถึงผู้อ่านด้วยภาษาที่เรียบง่าย  แม้จะมีความรู้เพียง ป. 4  แต่เธอมีความวิริยะ  จนสามารถผลิตงานแปลภาษาต่างประเทศออกมาหลายเล่ม  ส่วนผลงานของเธอบางเล่ม  ก็ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ  งานเขียนเรื่อง มัทรี  ยังได้รับการทำออกมาในรูปแบบภาพยนตร์สั้น  โดยสินีนาฏ เกษประไพ  สมาชิกกลุ่มพระจันทร์เสี้ยว  และทำให้เกิดการตีความเรื่องผู้หญิงที่หลากมิติยิ่งขึ้น  จากผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์สั้น ในวาระครบรอบ 36 ศรีดาวเรือง  นักเขียนสตรีวัย 68 ย่าง 69  ปี  ได้พูดคุยให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียน  ว่าจริงๆ แล้วเธอเป็นคนบ้านนอก  เกิดที่จังหวัดพิษณุโลก  ก่อนเข้ามาทำงานขายแรงงานในกรุงเทพฯ  วรรณาเคยเขียนเรื่องสั้นส่งไปลงตีพิมพ์ในจังหวัดบ้านเกิด แต่ไม่ผ่านการพิจารณา  แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้ทำให้เธอเลิกล้มการเป็นนักอ่าน  และความอยากเป็นนักเขียน  เมื่อวัยเด็กเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่ชั้นประถม และติดนิสัยรักการอ่านมาโดยตลอด  บิดาของเธอเป็นคนชอบอ่านหนังสือ  ที่บ้านมีหนังสือมากมาย  รวมถึงเรื่องแปลของต่างประเทศ  จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เป็นคนรักการอ่าน  เธอยังทำหน้าที่เป็นคนอ่านหนังสือนิทานคำกลอนให้คุณยายฟังเป็นประจำ  และอานิสงส์จากตรงนี้  ทำให้มีความสามารถทางด้านการแต่งเพลง…

คำประกาศเกียรติคุณ นายเดวิด สไมท์ และนายหลวน เหวินหัว ผู้ได้รับ รางวัลศรีบูรพาเกียรติยศ ในปี ๒๕๖๐

By Mod

เนื่องจากในปี ๒๕๖๐ เป็นปีครบรอบชาตกาล ๑๑๒ ปี กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ “ศรีบูรพา” คณะกรรมการกองทุนศรีบูรพา มีมติมอบรางวัลศรีบูรพาเกียรติยศแก่ ผู้แปลนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ของ ศรีบูรพา เป็นภาษาของชาติตนเอง ๒ คน อันได้แก่ นายเดวิด สไมท์ (David Smyth) แปลเป็นภาษาอังกฤษ และนายหลวน เหวินหัว แปลเป็นภาษาจีน นายเดวิด สไมท์ เป็นชาวอังกฤษ จบปริญญาเอกและเป็นอาจารย์ประจำด้านไทยศึกษาของ School of Oriental and African Studies แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน สนใจเกี่ยวกับวรรณกรรมไทยในยุคบุคเบิก มีผลงานศึกษาว่าด้วยกุหลาบ สายประดิษฐ์ และแปลนวนิยายไทยเรื่อง ข้างหลังภาพ ของ ศรีบูรพา และเรื่องสั้นเด่น ๆ ของ ศรีบูรพา อาทิ ขอแรงหน่อยเถอะ คนพวกนั้น เขาตื่น เป็นต้น ทั้งยังได้ศึกษาค้นคว้าและแปลงานของนักเขียนไทยคนอื่น…

“ศรีบูรพา”:ดั่งดวงเทียน ปืนและดอกไม้หอมในใจชน

By Mod

“ศรีบูรพา”:ดั่งดวงเทียน ปืนและดอกไม้หอมในใจชน ไพลิน   รุ้งรัตน์  หยดฝนย้อยหยาดฟ้ามาสู่ดิน ประมวลสิ้นเป็นมหาสาครใหญ่ แผดเสียงซัดปฐพีอึงมี่ไป พลังไหลแรงรุดสุดต้านทาน อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล มิอาจต้านแรงมหาประชาชน  ข้าพเจ้านึกถึงบทกวีบทนี้ทันทีที่ทราบว่าองค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติได้ประกาศยกย่องให้”ศรีบูรพา”หรือคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ผู้ล่วงลับไปแล้วเป็นบุคคลสำคัญของโลก และให้รายการฉลองครบชาตกาล 100 ปีของท่านในวันที่ 31 มีนาคม 2548 อันเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่าน) เป็นหนึ่งในรายการเฉลิมฉลองของยูเนสโกในปี 2548   บทกวีข้างต้นนี้เป็นของ”ศรีบูรพา”เองที่ท่านประพันธ์ไว้เมื่อครั้งยังอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน และได้ข่าวเรื่องชัยชนะของประชาชนไทย ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516  สมัยนั้นนักศึกษาได้นำมาร้องเป็นเพลงเพื่อชีวิตกันอยู่นานโดยไม่ทราบว่าเป็นบทประพันธ์ของท่าน  จนกระทั่งท่านเสียชีวิตแล้ว ความลับของบทประพันธ์นี้จึงได้เปิดเผยออกมา  ความยืนยงของท่านช่างเหมือนกับความเปรียบในบทกวีนี้เหลือเกิน  ชีวิตและผลงานของท่านค่อย ๆก่อกำเนิดขึ้นมาเหมือนหยดน้ำเล็ก ๆ ที่หยาดจากฟ้ามาสู่ดิน  และรวมกันจนเป็นทะเลใหญ่  ใหญ่จนไม่อาจปิดบังเสียงที่แผ่ซัดปฐพีจนอึงมี่ไปนั้นได้  ชื่อเสียงและผลงานนั้นจึงไหลแรงรุดสุดใครจะต้านทาน  กลายเป็นคำประกาศขององค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติในที่สุด  คุณกุหลาบ  สายประดิษฐ์ เป็นบุคคลพิเศษที่มีคุณลักษณะโดดเด่นปรากฏเป็นที่ประจักษ์ทั้งในความเป็น  “ชีวิต” และ “ผลงาน”  ไม่มีส่วนใดพร่องหรือด้อยไปกว่ากัน  หากกลมกลืนและสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างน่าอัศจรรย์   กล่าวได้ว่า คุณกุหลาบ  สายประดิษฐ์ ในฐานะนักคิด นักหนังสือพิมพ์ผู้ต่อสู้เพื่อมนุษยชาติ  และ “ศรีบูรพา” ในฐานะนักเขียน…

Nam sed tellus id magna elementum tincidunt

By Mod

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit. Duis risus. Nullam sit amet magna in magna gravida vehicula. Integer imperdiet lectus quis justo. Etiam ligula pede, sagittis quis, interdum ultricies, scelerisque eu. Etiam bibendum elit eget erat. Neque porro quisquam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam…