ผู้เป็นศรีของโลก

By Admin

พระไพศาล วิสาโ เมื่อยังเด็ก ข้าพเจ้าชอบไปร้านหนังสือย่านวังบูรพาและเวิ้งนครเขษม โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลลดราคา ดังนั้นจึงคุ้นเคยกับชื่อ “ศรีบูรพา” ซึ่งในเวลานั้นมีผลงานด้านนวนิยายตีพิมพ์ป็นหนังสือปกแข็งอยู่หลายเล่มด้วยกัน  จัดได้ว่าเป็นนักเขียนยอดนิยมที่หนอนหนังสือย่อมรู้จัก  แต่ข้าพเจ้าหาได้เคยอ่านงานของศรีบูรพาไม่ เพราะเข้าใจว่าเป็นนวนิยายแบบรักๆ ใคร่ๆ ซึ่งน่าจะเหมาะกับผู้หญิงมากกว่า  เวลานั้นข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ทั้งสิ้นจนกระทั่งได้มาอ่านวารสารวรรณกรรมเพื่อชีวิต และสังคมศาสตร์ปริทัศน์ โดยเฉพาะฉบับหลังนั้นก่อนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เพียง ๓ เดือน ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ กุหลาบ สายประดิษฐ์ จากความทรงจำของ ยศ วัชรเสถียร รวมทั้งมุมมองของ วิทยากร เชียงกูล ต่อนวนิยายของศรีบูรพา  ถึงตอนนั้นข้าพเจ้าจึงได้รู้จัก “ศรีบูรพา”ในอีกแง่มุมหนึ่ง คือในฐานะนักเขียนหัวก้าวหน้า และได้รู้จัก กุหลาบ สายประดิษฐ์ ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเป็นธรรมในสังคม เมื่อมีการประท้วงรัฐบาลถนอม-ประภาสที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อนจะถึง “วันมหาวิปโยค”นั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมชุมนุมด้วย  ในระหว่างการชุมนุมที่สนามฟุตบอลซึ่งยืดเยื้อนานเป็นสัปดาห์นั้น หนังสือเล่มหนึ่งที่ข้าพเจ้าซื้อมานั่งอ่านจนจบคือ จนกว่าเราจะพบกันอีก ของ “ศรีบูรพา” หนังสือเล่มนั้นดูเหมือนจะตีพิมพ์โดยสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ตอนนั้นองค์กรและกลุ่มกิจกรรมของนักศึกษาเป็นผู้บุกเบิกในการนำวรรณกรรมเก่าๆ…

บันทึกการไปสวนโมกข์ : ภาพสะท้อนนักปฏิบัติของกุหลาบ สายประดิษฐ์

By Admin

สมปอง ดวงไสว ๑ ปราชญ์และนักคิดที่มีชีวิตเกิดมาร่วมสมัยในเวลาใกล้เคียงกัน ได้ร่วมสร้างผลงานอันทรงคุณค่าฝากไว้ให้แก่แผ่นดินแก่โลกเหมือนๆ กัน  ต่างกันแต่เพียงเส้นทางที่สร้างสรรค์  แต่ท้ายที่สุดแล้วย่อมเป็นสายธารเพื่อความสุขสงบ สันติ มนุษยธรรมของมวลมนุษยชาติเหมือนกัน เป็นที่ทราบกันดีในหัวใจของพุทธศาสนิกชนไทย ท่านพุทธทาสเป็นปราชญ์แห่งพุทธศาสนา ส่วน กุหลาบ สายประดิษฐ์หรือศรีบูรพาคือปราชญ์แห่งการประพันธ์  ทั้งสองท่านได้มีโอกาสสื่อสารสัมพันธ์ในทางธรรมะต่อกันจนกระทั่งในที่สุดได้พบปะกัน  เรื่องราวของการที่ปราชญ์ต่อปราชญ์พบกัน ล้วนสร้างสรรค์และเป็นประวัติศาสตร์จารึกอันทรงคุณค่า ควรแก่การศึกษา คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ และท่านพุทธทาสภิกขุ มีโอกาสเขียนจดหมายติดต่อถึงกันเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะหรือเสวนาธรรมต่อกัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จดหมายของทั้งสองท่านนั้นเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และบทบาทชีวิตวัตรปฏิบัติธรรมของคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ หลังจากพบท่านพุทธทาสแล้ว นับว่ามีคุณค่าควรค่าแก่การศึกษายิ่ง ในดวงจิตของท่านที่ต่างศึกษางานของกันและกัน คงมีความรู้สึกความคิดที่นอกจากจะคิดถึงกัน อยากติดต่อสื่อสารปฏิสัมพันธ์ถึงกัน และคงปรารถนาที่จะได้พบกันในที่สุด จากหลักฐานทางจดหมายที่ติดต่อถึงกันพบว่า จดหมายฉบับแรกเริ่มต้นที่ท่านพุทธทาส จากสวนโมกขพลาราม ไชยา สุราษฎร์ธานีติดต่อมายังคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ซึ่ง ณ เวลานั้นคือบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประชาชาติ  จดหมายลงวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยขึ้นต้นจดหมายว่า ธรรม พร และเมตตาจงเจริญ แด่คุณŽ  จดหมายฉบับแรกนี้ เป็นความปรารถนาของท่านพุทธทาส ต้องการสื่อสารทางธรรมะเพื่อส่งต่อให้ถึงพุทธศาสนิกชนโดยผ่านทางประชาชาติ และแลกเปลี่ยนความรู้ทางธรรมกับท่านบรรณาธิการ…

นูริอุทปา (Nuriootpa) เมืองงามเอื้ออาทรในมุมมอง “ศรีบูรพา”

By Admin

รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๔๗) ผู้เขียนและภรรยามาพักอยู่กับลูกสาวซึ่งทำงานอยู่ที่ออสเตรเลีย จึงถือโอกาสแวะเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ที่ “ศรีบูรพา” เคยมาใช้ชีวิตที่นี่ อาทิ เมืองเมลเบิร์น เมืองซิดนีย์ เมืองอะดิเลด ฯลฯ โดยเฉพาะที่เมืองอะดิเลด (Adelaide) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐเซ้าท์ออสเตรเลีย  “ศรีบูรพา” เรียกชื่อเมืองนี้ว่า แอ็ดเล่ย์  เคยแสดงปาฐกถาเล่าว่า คนออสเตรเลียได้ริเริ่มร่วมมือกันสร้างเมืองๆ หนึ่งขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยที่รัฐบาลไม่ได้มีส่วนริเริ่มด้วยเลย (รายละเอียดอยู่ในปาฐกถา ชีวิตแบบออสเตรเลีย ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์  ภายหลังได้ถอดความนำมาพิมพ์ในภาคแรกของหนังสือข้าพเจ้าได้เห็นมา)  เมืองที่ว่านี้ หมายถึงเมืองนูริอุทปา (Nuriootpa) เป็นเมืองเล็กๆ ตั้งอยู่ในหุบเขาบารอสซา (Barossa valley) อยู่ห่างจากเมืองอะดิเลด ๔๓ ไมล์ (ประมาณ ๖๙ กิโลเมตร) ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำพารา(Para River) เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ของหุบเขาบารอสซา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไวน์ที่รู้จักกันดีที่สุดในออสเตรเลีย เมืองงามที่พลเมืองสร้างกันเอง กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ “ศรีบูรพา” ได้เรียบเรียงเรื่องราวของ…

ช่วงชีวิตในจีนของ “ศรีบูรพา”

By Admin

รำลึกความทรงจำครึ่งศตวรรษในจีนจากมิตรร่วมหลังคาเรือน “ศรีบูรพา” : สุชาติ ภูมิบริรักษ์ ชามา ชีวประวัติและผลงานของ “ศรีบูรพา” ได้มีผู้ศึกษาเอาไว้อย่างละเอียดแทบทุกด้านไม่น้อยทีเดียว  ยกเว้นในช่วงบั้นปลายชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๑๗ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การดูแลที่ดีของรัฐบาลจีน ซึ่งศรีบูรพาได้ลี้ภัยการเมืองอยู่ที่นั่นจวบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต  แม้จนบัดนี้ ซึ่งทำให้ยังคงเป็นปริศนาคลุมเครือและเป็นที่ใคร่รู้ของผู้สนใจติดตามชีวิตและผลงานของ “ศรีบูรพา” เหตุเพราะเจ้าของชีวประวัติได้ลาลับจากวงวรรณกรรมไทยไปแล้ว โดยละวางการกล่าวถึงอัตชีวประวัติในช่วงดังกล่าว รวมถึงไม่ได้เปิดเผยผลงานเขียนใดต่อสาธารณะ และไม่มีโอกาสได้บอกเล่าเรื่องราวความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศจีนให้ชนรุ่นหลังรับรู้บรรยากาศการใช้ชีวิตในต่างแดนภายใต้การดูแลของรัฐบาลจีน ในช่วงก่อนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและจีนให้กระจ่างได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความจริง” ดังกล่าวนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคณะบุคคลหลายฝ่ายและเกี่ยวข้องกับความผกผันของการเมืองไทย รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและจีน จนอาจกล่าวได้ว่า ช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นอีกหน้าหนึ่งที่ควรได้รับการเปิดเผยและบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยและจีน เพื่อให้เกิดสัมฤทธิผลในการศึกษาประวัติความสัมพันธ์ไทย-จีนอีกโสตหนึ่ง ผ่านการต่อสู้ของคณะนักหนังสือพิมพ์ไทยกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่มุ่งใฝ่หาสันติภาพและความสัมพันธ์ที่เป็นปกติระหว่างประชาชน! คณะส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลุ่มเล็กๆ ดังกล่าวที่ได้เดินทางไปจีนตามคำเชิญภายใต้การนำของ “ศรีบูรพา” ในฐานะ หัวหน้าคณะส่งเสริมวัฒนธรรม ในช่วงนั้น ในที่สุดก็ได้ตัดสินใจกลับประเทศไทยเกือบหมด และหลายคนถูกจับกุมคุมขัง แต่ก็ยังเหลือนักหนังสือพิมพ์ในกลุ่มนั้นที่ยังตกค้างอยู่ในจีนด้วยความสมัครใจต่อมาอีกสองคนเป็นเวลายาวนาน นั่นคือ ศรีบูรพา หัวหน้าคณะฯ และ “สุชาติ ภูมิบริรักษ์” นักหนังสือพิมพ์ไทยอีกผู้หนึ่งซึ่งไปในนามของเลขานุการของคณะฯ สำหรับ “ศรีบูรพา” กล่าวได้ว่าได้อาศัยจีนเป็น “เรือนตาย” จนวาระสุดท้ายในชีวิตในเวลาต่อมาอีก ๑๖ ปี…

อาลัยมิตรแท้ กุหลาบ สายประดิษฐ์

By Admin

อู๋ตง มาถึงเมืองไทยเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาอันสวยงาม ผืนแผ่นดินอันเขียวชอุ่มอุดมสมบูรณ์ แลผู้คนที่พำนักอยู่ที่นี่ ทำให้หวนรำลึกถึงความหลังและมิตรในอดีต บุคคลที่ทำให้ฉันอาลัยรักเป็นอย่างยิ่งคือ อดีตนักประพันธ์และนักหนังสือพิมพ์ชั้นเอก คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ฉันคิดถึงคำพูดที่เพื่อนคนไทยเคยพูดกับฉันคือ คนจีนเคารพนับถือนักประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่หลู่ซิ่นฉันใด คนไทยน่าจะเคารพนักเขียนเช่นคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ฉันนั้น  ที่เมืองไทย ฉันได้เห็นประชาชนไทยและคนในวงการหนังสือพิมพ์มีความศรัทธาต่อท่านอย่างสูง  บ่ายวันที่ ๒๐ มิถุนายน ฉันกับอู๋จี้เอียะ เพื่อนนักหนังสือพิมพ์อาวุโสบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จีน “ซินตงง้วน” กับลูกสาวของเขาที่เป็นนักหนังสือพิมพ์รุ่นสาวชื่อ อู๋เหม่ยอิง มาถึงสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทสไทย ชมรูป าพและผลงานของคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ เนื่องในวาระครบรอบ ๘ ปีแห่งมรณกรรมของท่าน ณ ระเบียงของสมาคม ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนสามเสน กรุงเทพฯ  คนจำนวนมากกำลังชมนิทรรศการ คนอีกส่วนหนึ่งกำลังซื้อหนังสือของคุณกุหลาบที่จัดพิมพ์ใหม่ และวรรณกรรมเล่มอื่นๆ ณ ห้องประชุม มีการจัดนิทรรศการแนะนำชีวประวัติและบทประพันธ์ของคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์  นักประพันธ์อาวุโสหลายคนกำลังกล่าวปราศัย ผู้ฟังนับร้อยคนตั้งใจฟังและบันทึกเสียง  ฉันได้เห็นบุคคลที่คุ้นเคยหลายท่าน แต่ไม่ได้ทักทายท่าน ได้แต่ยืนอยู่ ดูอยู่ และฟังอยู่ ฉันไม่ได้ฟังการอภิปรายจนจบ ก็ได้ไปที่สำนักพิมพ์ “ซินตงง้วน” พร้อมกับคุณอู๋เสียก่อน  แต่การประชุมไว้อาลัยครั้งนี้ ทำให้ฉันหวนนึกไปคิดถึงเรื่องเมื่อ…

ไสว มาลายเวช เลขา-อาลักษณ์ “ศรีบูรพา”

By Admin

ไพลิน รุ้งรัตน์ คุณไสว มาลายเวช เป็นเพื่อนร่วม “คุก” ของศรีบูรพา เมื่อครั้ง พ.ศ. ๒๔๙๕  ครั้งนั้นคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้รับมอบหมายจากสมาคมนักหนังสือพิมพ์ให้เป็นประธานนำคณะไปแจกสิ่งของที่มีผู้บริจาคแก่ประชาชานภาคอีสานที่ประสบภัยธรรมชาติอย่างร้ายแรง ประกอบกับการที่ได้ร่วมคัดค้านสงครามเกาหลี จึงถูกจับกุมพร้อมมิตรสหายในข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ถูกตัดสินจำคุกเป็นคณะใหญ่ ๑๓ ปี ๔ เดือน และถูกคุมขังไว้ในเรือนจำบางขวางฐานนักโทษการเมือง (จากเล่มข้อคิดจากใจ หน้า 198) ตอนนั้นคุณไสวอายุ ๓๙ ปี และคุณกุหลาบอายุประมาณ ๔๗ ปี  คุณไสวถือเป็นนักหนังสือพิมพ์รุ่นน้องที่มีความศรัทธาในตัวคุณกุหลาบเป็นอย่างยิ่ง  คุณไสวเล่าว่าเมื่ออยู่ในคุกนั้น คุณกุหลาบ ยังคงเขียนหนังสืออยู่ และโต๊ะของคุณกุหลาบก็คือลังไม้ฉำฉา ส่วนคุณไสวนั้นทำหน้าที่คล้ายกับเป็นเลขานุการส่วนตัวของคุณกุหลาบ คือมีหน้าที่ดูแลโดยทั่วไป รวมทั้งยังเป็นคนหุงข้าว ทั้งยังอาลักษณ์ให้คุณกุหลาบไปในตัวด้วย  กล่าวคือคุณไสวจะเป็นผู้ลอกต้นฉบับจากลายมือของคุณกุหลาบอีกครั้งหนึ่งให้อ่านง่าย ชัดเจน  คุณไสวยืนยันว่า เป็นคนเดียวในคุกที่อ่านลายมือ “ศรีบูรพา” ได้ ผู้ดำเนินรายการ (ไพลิน รุ้งรัตน์ : ผู้พิมพ์) สงสัยว่า คุณไสวได้ช่วยให้ “ศรีบูรพา” ส่งต้นฉบับออกนอกคุกได้อย่างไร  คุณไสวเล่าว่า…