นายชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ ได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี ๒๕๖๖

By Mod

นายชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ หรือ “ท่านขุนน้อย” หรือ “นายพรานผี” เป็นนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการ ผู้ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ยืนหยัดต่อสู้เพื่อส่วนรวมและมนุษยธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี แต่ไปเติบโตอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ใฝ่ฝันที่จะเป็นนักเขียนมาตั้งแต่เด็ก รักการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ ขยันหมั่นเพียรเข้าห้องสมุดอยู่เสมอ และเริ่มเขียนกลอนตั้งแต่อยู่ชั้น ป.4 กลอนชิ้นแรกได้ลงตีพิมพ์ในหนังสือ ‘วิทยาสาร’ หลังเรียนจบ ม.ศ.3 ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ จึงเข้ากรุงเทพฯ เรียนต่อชั้นมัธยมปลายโรงเรียนผดุงศิษย์พิทยา และก้าวเข้าสู่เส้นทางนักข่าวตั้งแต่ยังไม่จบชั้นมัธยมปลาย เริ่มประสบการณ์การเป็นนักหนังสือพิมพ์เมื่อปี 2517ด้วยการเขียนบทความ “ตุลาการ องค์กรที่ไร้เดียงสา” ตีพิมพ์จนถูกฟ้องละเมิดอำนาจศาล ติดคุกสองเดือน จากนั้นก็ผ่านงานเป็นนักข่าว เป็นนักหนังสือพิมพ์ เป็นบรรณาธิการวนเวียนอยู่ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆหลายเล่ม อาทิ ประชาชาติรายวัน อภิวัฒน์รายสัปดาห์ ประชาชนรายเดือน ตะวันออกปริทัศน์ ท้ายสุดได้ทำนิตยสารการเมืองตระกูลอาทิตย์ เน้นเจาะลึกขุดคุ้ยความไม่ชอบมาพากลของผู้มีอำนาจออกมา’ตีแผ่ด้วยความกล้าหาญ และถูก‘สั่งปิด’ เสมอมา จึงแก้ปัญหาด้วยการ ‘เปลี่ยนหัวหนังสือ’…

นายทองแถม นาถจำนง ได้รับรางวัลศรีบูรพาประจำปี ๒๕๖๖

By Mod

นายทองแถม นาถจำนง นามปากกา “โชติช่วง นาดอน” เป็นบรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนและนักวิชาการวัฒนธรรม ผู้มีความรอบรู้วรรณกรรมไทย-จีน และเป็นดั่งสะพานเชื่อมวัฒนธรรมสองชาติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๘ ที่บ้านในสวนย่านวัดบวรมงคล ฝั่งธนบุรี เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนศิริมงคลศึกษา ต่อชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ และสอบเข้า เรียนต่อที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะเรียนปี ๔ เทอมสุดท้ายเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ จึงหนีภัยทางการเมืองหลบเข้าป่า ร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ปี ๒๕๒๑ ได้รับคัดเลือกจากพรรคให้ไป ศึกษาวิชาการแพทย์ ที่เซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะศึกษาอยู่ ได้แปลบทกวีจีนเป็นภาษาไทยหลายเล่ม ปี ๒๕๒๖ คืนสู่สังคมไทย และกลับเข้าศึกษาต่อที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีก ๑ เทอม จนจบปริญญาตรี ในปี ๒๕๒๖ นั้นเอง เริ่มเขียนและแปลงานกวีนิพนธ์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์จีน ตั้งแต่ปี…

“ประกิต หลิมสกุล” สุดหัวใจคือความเป็นกลางและความเป็นธรรม

By Mod

เมื่อชื่อของ “ประกิต หลิมสกุล” เจ้าของนามปากกา “กิเลน ประลองเชิง” แห่งคอลัมน์ “ชักธงรบ” ใน “หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ได้รับการประกาศให้ได้รับ “รางวัลศรีบูรพา” 2565 สร้างความยินดีปรีดาให้แก่แวดวงนักข่าวนักหนังสือพิมพ์นักเขียนกันถ้วนทั่ว           เส้นทางชีวิตสู่การเป็นนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ของ “ประกิต หลิมสกุล” ที่เหล่าผู้คนในวงการน้ำหมึกยกย่อง เคยได้รับการบอกเล่าหลายครั้งคราว โดยเจ้าตัวเองมักจะถ่อมตนอยู่เสมอว่า “เรียนหนังสือไม่จบ” นั่นยิ่งทำให้เรื่องราวการหล่อหลอมตามวัยและวันมีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย           “ประกิต หลิมสกุล” เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ที่จังหวัดสมุทรสงคราม           “นามสกุลหลิม ไม่ใช่หลินที่แปลว่าป่า แต่หลิมแปลว่ารุ่งอรุณแห่งความสุข คุยให้ลูกฟังว่านามสกุลพ่อแปลเพราะนะด้วยความภูมิใจ”           บทสนทนาที่เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นกันเองระหว่าง “ชมัยภร บางคมบาง” ประธานกองทุนศรีบูรพา และ…

ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์

By Admin

ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๖๑ ที่อำเภอบางบ่อ สมุทรปราการ เริ่มการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิ  จบชั้นมัธยมต้นและปลายที่โรงเรียนบพิตรพิมุข จากนั้นสอบเข้าคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหา-วิทยาลัยได้ แต่เรียนได้เพียงเดือนเดียวบิดาถึงแก่กรรม ไม่มีเงินเรียนต่อ จึงไปทำงานหนังสือพิมพ์ และศึกษาวิชากฎหมายที่มหา-วิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองไปด้วย  ทำงานหนังสือพิมพ์มาโดยตลอด แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ข่าวต่างประเทศถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดจึงเลิกทำหนังสือพิมพ์ และเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจนเกษียณอายุราชการ ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตที่ประเทศพม่า เริ่มมีผลงานเขียนเผยแพร่สม่ำเสมอตั้งแต่ทำงานหนังสือพิมพ์ นิยมใช้ฉากต่างประเทศ นวนิยายเรื่องแรกเป็นที่นิยมมาก และทำให้มีชื่อเสียงอย่างรวดเร็วคือ ชัยชนะของคนแพ้  ตามมาด้วย ฟ้าแมนจู และ ชีวิตบนความตาย  หลังจากเข้ารับราชการแล้ว มีผลงานแปลคือ วาระสุดท้ายของเซวัสโตโปล และต่อมานวนิยายที่ได้รับการยอมรับและยกย่องว่าเป็น “หมุดหมาย” ที่สำคัญในเส้นทางวรรณกรรมไทยคือ ความรักของวัลยา และ ปีศาจ ได้รับการประกาศเกียรติ-คุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อปี ๒๕๒๘ได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนแรก (๒๕๓๑)

อ.ไชยวรศิลป์

By Admin

อ.ไชยวรศิลป์ ชื่อจริงคือ อำพัน ไชยวรศิลป์  เกิดเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๐ ที่อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนคริสต์ประดิษฐ์มโนวงศ์ จังหวัดเชียงใหม่ และย้ายไปเรียนที่อื่นอีกหลายแห่งตามที่บิดาย้ายไปรับราชการ แต่สุดท้ายกลับไปจบชั้นมัธยม ๖ ที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มเขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ “หนทางรัก” เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี โดยใช้นามปากกา อ.ไชยวรศิลป์ จากนั้นจึงเขียนเรื่อยมา นวนิยายเรื่องแรกชื่อ เกิดเป็นคน เรื่องที่ทำให้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักอ่านคือ ฉันเขียนเรื่องนี้เพื่อเธอ และ แม่สาย ะอื้น มีผลงานเรื่องสั้นประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ เรื่อง และนวนิยายอีกกว่า ๔๐ เรื่อง สารคดีเรื่อง นิยายเมืองเหนือ ได้รับรางวัลยูเนสโก ประจำปี ๒๕๓๐ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ ด้วยวัย ๗๒ ปี ขณะกำลังเขียนนวนิยายเรื่องสุดท้ายชื่อ ก่อนชีวาจะลาลับได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนที่ ๒ (๒๕๓๒)

คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง

By Admin

คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง ถือกำเนิดในครอบครัวข้าราชการชั้นผู้น้อย มารดาเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก บิดาเป็นผู้เห็นความสำคัญของการศึกษาและการอ่านหนังสือ จึงได้รับการปลูกฝังความคิดนี้มาแต่เยาว์วัย เมื่อจบชั้นมัธยม ๖ จากโรงเรียนเบญจมราชาลัย ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ จนได้วุฒิ ป.ป. แล้วจึงสอบเข้าศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬา-ลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ (เป็นรุ่นที่ ๔ ปี ๒๔๗๗)  เมื่อจบการศึกษาแล้วเป็นครูสอนหนังสืออยู่ประมาณ ๑ ปี จากนั้นจึงย้ายไปรับราชการในกรมโฆษณาการอยู่ ๙ ปี จึงลาออกเมื่อปี ๒๔๙๑ และหันมาทำงานด้านบรรณาธิการ และรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการนิตยสาร “สตรีสาร” เมื่อปี ๒๔๙๒ หลังจากนั้นจึงเปิด “ดรุณสาร”  สำหรับเยาวชน และ “สัปดาห์สาร” สำหรับเรื่องข่าวสาร โดยรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการทั้งสามเล่ม แต่สตรีสารเป็นนิตยสารที่อายุยืนยาวที่สุด เป็นนิตยสารที่ได้รับรางวัลพระเกี้ยวทองคำ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนิตยสารที่ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น เมื่อปี ๒๕๓๐ และได้ดำเนินกิจการต่อมาจนถึงปี ๒๕๓๙ จึงได้ปิดตัวลงโดยบรรณาธิการตั้งใจ เนื่องจากเห็นแนวโน้มที่นิตยสารจะต้องปรับตัวไปเป็น “อื่น” รวมอายุ ตรี ารได้ ๔๘ ปี นอกจากนี้ยังเคยก่อตั้ง…