วิทยากร เชียงกูล

By Admin

วิทยากร เชียงกูล เกิด ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนพัฒนาราษฎร์ สระบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษา ๓ จากนั้นไปต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ กรุงเทพฯ จนจบชั้นเตรียมอุดมศึกษา ในปี ๒๕๐๘ แล้วสอบเข้าเรียนต่อในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนจบปริญญาตรี แล้วจึงไปศึกษาต่อปริญญาโทที่สถาบันสังคมศึกษา กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เริ่มทำงานหนังสือพิมพ์ที่นิตยสารชัยพฤกษ์ฉบับนักศึกษาประชาชน เมื่อจบปริญญาโทแล้วจึงไปเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำงานธนาคาร และเป็นผู้บริหารที่มหาวิทยาลัยรังสิตจนปัจจุบัน เริ่มเขียนกลอนและทำหนังสือตั้งแต่ยังเรียนสวนกุหลาบ และมากขึ้นเมื่อเรียนมหาวิทยาลัย ซ้ำยังได้รวมกลุ่มเพื่อนตั้งเป็นกลุ่มพระจันทร์เสี้ยว ทำกิจกรรมเพื่อสังคม บทกวีที่โด่งดังมากทำให้ชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักในหมู่นักศึกษาจนถึงปัจจุบันคือ บทที่ชื่อ ‘ฉันจึงมาหาความหมาย’ ผลงานรวมเล่มมีหลากหลายแบบ ทั้งงานสร้างสรรค์และงานวิชาการ ผลงานรวมเรื่องสั้นและบทกวีมี ๒ เล่ม คือ ฉันจึงมาหาความหมาย และ ฝันของเด็กชายชาวนา นอกนั้นเป็นงานวิชาการที่แสดงความเป็นนักคิด อาทิ เราจะไปทางไหนกัน, ทางเลือกสังคมไทย, ปัญญาชนกับการเปลี่ยนแปลงสังคม เป็นต้นได้รับรางวัลศรีบูพา เป็นคนที่ ๑๐ (๒๕๔๑)

สุภัทร สวัสดิรักษ์

By Admin

สุภัทร สวัสดิรักษ์ เกิด ๑๓ มกราคม ๒๔๗๒ ที่จังหวัดภูเก็ต ได้รับการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนสตรีผดุงปัญญา จังหวัดตาก และจบเตรียมอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ จากนั้นเริ่มทำงานเป็นครูอนุบาล-ประจำกองบรรณาธิการ และเป็นบรรณาธิการหนังสือมาจนปัจจุบัน เริ่มเขียนเรื่องสั้นเมื่อปี ๒๔๘๙ ชื่อ “ในห้องซึ่งมีแต่วันนี้” ตีพิมพ์ในนิตยสารเดลิเมล์วันจันทร์ เมื่อทำงานเป็นกองบรรณาธิการและบรรณาธิการ เขียนหนังสือมาโดยตลอด มีผลงานทั้งเรื่องสั้น นวนิยายและสารคดี มีผลงานที่รวมเล่มแล้วประมาณ ๒๖ เล่ม เป็นนวนิยาย ๙ เล่ม  สารคดี ๑๗ เล่ม ผลงานสารคดีท่องเที่ยวชื่อ แผ่นดินคะรินยา ที่เขียนร่วมกับ “อมราวดี” ได้รับรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ปี ๒๕๑๘ ส่วนเล่มอื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น ดินแดนแห่งความสงบยามเช้า (เขียนร่วมกับคนอื่น ๆ), สองสายธาร, ประตูสู่ตะวันตก เป็นต้น  นวนิยายที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น ธิดาสวรรค์, มาลีเริงไฟ เป็นต้น ได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ…

สมชัย กตัญญุตานันท์ (ชัย ราชวัตร)

By Admin

สมชัย กตัญญุตานันท์ (“ชัย ราชวัตร”) เกิดที่ จ.อุบลราชธานี และเริ่มเรียนชั้นประถมที่ จ.อุบลราชธานี  ความรักในการเขียนการ์ตูนเริ่มมาตั้งแต่อยู่ชั้นประถม  “ชัย ราชวัตร” เริ่มต้นเขียนการ์ตูนการเมืองที่มหาราษฎร์ เป็นการ์ตูนล้อการเมือง  อาชีพการ์ตูนนิสต์รุ่งเรืองหลัง ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ แต่พอถึง ๖ ตุลา ๒๕๑๙หนังสือพิมพ์ที่ทำอยู่ก็ต้องโดนมรสุมหนักโดนสั่งปิด แถมยังมีภัยคุกคามเข้ามาอีก ในที่สุดก็ต้องลี้ภัยไปอยู่อเมริกา ๒ ปี กลับมาอยู่เดลินิวส์เพียง ๒ เดือน กองบรรณาธิการก็ระส่ำ ต้องลาเดลินิวส์อย่างถาวร แล้วยักษ์ใหญ่ไทยรัฐก็เข้ามาทาบทามทันที และจากวันนั้นจวบจนปัจจุบันก็กว่า ๒๐ ปีแล้ว นอกจากนั้น ยังมีผลงานการ์ตูนล้อการเมืองเป็นตอน ๆ แพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๓ และเหนือความภาคภูมิใจใด ๆ มีผลงานวาด “พระมหาชนกฉบับการ์ตูน” พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  หลังจากสร้างผลงานมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงได้รับรางวัลเกียรติยศ อาทิ รางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านศิลปวัฒนธรรม ปี ๒๕๓๘ รางวัลนักหนังสือพิมพ์ที่ควรยกย่องปี ๒๕๔๒  รางวัลหม่อมราชวงศ์อายุมงคลโสณกุล ในฐานะสื่อมวลชนผู้เขียนภาพล้อได้อย่างยอดเยี่ยมได้รับรางวัลศรีบูรพา…

เสถียร จันทิมาธร

By Admin

เสถียร จันทิมาธร เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ที่จังหวัดสุรินทร์ เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่จังหวัดขอนแก่น แล้วไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยครูสวนสุนันทา และวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จนจบปริญญาตรี เริ่มทำงานครั้งแรกด้วยการเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่หนังสือพิมพ์เสียงอ่างทอง จากนั้นไปร่วมงานกับหนังสือพิมพ์รายวันอีกหลายฉบับ อาทิ สยามนิกร สยามรัฐรายวัน และวิทยาสาร เมื่อเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ได้เข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และกลับออกมาเมื่อรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประกาศนโยบายคืนสู่เหย้า ตามคำสั่ง ๖๖/๒๓ มีผลงานเขียนโดดเด่นในด้านวรรณกรรมวิจารณ์ และบทความแสดงความคิดเห็น ผลงานรวมเล่มที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ คนเขียนหนังสือ, คลื่นลูกเดิม, หนอนหนังสือ, สายธารวรรณกรรมไทย เป็นต้น ปัจจุบันเป็นบรรณาธิการบริหาร นิตยสารมติชน สุดสัปดาห์ได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนที่ ๑๓ (๒๕๔๔)

นิธิ เอียวศรีวงศ์

By Admin

นิธิ เอียวศรีวงศ์ เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปี ๒๔๘๓ ในครอบครัวคนจีน เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างเรียนได้ตั้งชมรมวรรณศิลป์ และเขียนบทความลงในหนังสือของคณะ จากนั้นศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาประวัติศาตร์ คณะอักษรศาตร์ จากสถาบันเดิม ปี ๒๕๐๙ เข้าเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ผลงานด้านงานเขียน อาทิเช่น “ปากไก่และใบเรือ” “สุนทรภู่ มหากวีกระฎุมพี” “การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี” เป็นต้นนอกจากบทบาทนักวิชาการและนักเขียนแล้ว ยังเป็นผู้ติดอาวุธทางปัญญาและร่วมเคลื่อนไหวในการเมืองภาคประชาชน โดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน” และ “สำนักข่าวประชาธรรม” ทั้งยังเป็นหนึ่งในนักวิชาการของ “สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน” อีกด้วยได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนที่ ๑๔ (๒๕๔๕)

ธีรยุทธ บุญมี

By Admin

ธีรยุทธ บุญมี เกิดที่กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๙๓ เรียนระดับมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบ พ.ศ. ๒๕๑๒  สอบได้ที่ ๑ ของประเทศไทยปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้า จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักคิดนักเขียน นักวิชาการที่มีบทบาททางการเมือง ตั้งแต่ช่วงที่เป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เรียกร้องให้คนไทยต่อต้านการซื้อสินค้าจากญี่ปุ่น เมื่อ ๒๐พฤศจิกายน ๒๕๑๕  เป็น ๑ ใน ๑๓ คนที่ถูกจับในการเรียกร้องประชาธิปไตยจนเป็นชนวนนำไปสู่การรวมตัวของประชาชน กระทั่งเกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖  เมื่อเกิดการนองเลือด ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ได้ตัดสินใจเข้าร่วมปฏิวัติกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยครั้นหันหลังให้พรรคคอมมิวนิสต์ ได้เดินทางไปศึกษาด้านปรัชญาส ังคมวิทยา และมานุษยวิทยาที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ จนได้เป็น Ph.D Candidate ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยไนเมเกน ประเทศเนเธอร์แลนด์กลับมาเมืองไทยได้นำเสนอแนวคิด “ทางเลือกที่สาม คือการสร้างสังคมเข้มแข็ง” ได้รับความสนใจจากสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีบทความแนวสังคมและการเมืองออกมาอย่างสม่ำเสมอ ผลงานเขียน เช่น “จุดเปลี่ยนแห่งยุคสมัย” “ปรัชญาแห่งการปฏิรูปการเมือง” “ชาตินิยมและหลังชาตินิยม” เป็นต้นได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนที่ ๑๕ (๒๕๔๖)