วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา คนที่ ๑๙ ประจำปี ๒๕๕๐

By Mod

วัฒน์ วรรลยางกูรประวัติโดยสังเขปวัฒน์ วรรลยางกูรนักเขียนรางวัลศรีบูรพา คนที่ ๑๙ ประจำปี ๒๕๕๐ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ที่ตำบลตะลุง อำเภอเมือง ลพบุรี เป็นบุตรคนเดียวของนายวิรัตน์ และนางบุญส่ง วรรลยางกูร แต่ยังไม่ทันโตจำความได้ บิดามารดาก็หย่าร้างกัน มารดาจึงพาไปอยู่บ้านเดิมที่จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.๒๕๐๕ เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ ๑ ที่โรงเรียนประชาบาลวัดดาวเรือง ปทุมธานี เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ บิดาได้ติดต่อขออุปการะจึงพากลับไปอยู่ลพบุรีอีกครั้งหนึ่ง พ.ศ.๒๕๐๘ เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ ๕ อยู่กับย่าที่บ้านสวน ริมแม่น้ำลพบุรี ศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนวินิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๑๔ เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี โดยไปเป็นเด็กวัดอยู่ในเมืองลพบุรี สอบตกชั้นม.ศ.๕ เพราะกำลังเริ่มสนใจการประพันธ์อย่างจริงจัง จนต้องเรียนซ้ำชั้น แต่สอบเทียบได้จึงเลิกเรียนและเข้ากรุงเทพฯ ต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๗ สมัครเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่เรียนอยู่เพียง ๒ เดือน ก็เลิกเรียน ในด้านการประพันธ์ เนื่องจากมีโอกาสอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก…

วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ปี 2550 พรชัย จันทโสก : สัมภาษณ์

By Mod

จุดประกาย วรรณกรรมปีที่ 20 ฉบับที่ 6638วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2550 วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ปี 2550 พรชัย จันทโสก : สัมภาษณ์ [email protected] คนในแวดวงวรรณกรรมคงต้องกล่าวแสดงความยินดีกับ วัฒน์ วรรลยางกูร หลังจากคณะกรรมการ “กองทุนศรีบูรพา” ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เขาได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ.2550 และเป็นนักเขียนคนที่ 19 ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ วัฒน์ วรรลยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2498 ที่ตำบลตะลุง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จบมัธยมปลายที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย แล้วมาศึกษาต่อที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ไม่จบ เพราะต้องเตลิดหนีเข้าป่าด้วยเหตุผลทางการเมือง หลังเหตุการณ์สงบก็มาทำงานเป็นนักข่าว-นักเขียนประจำหนังสือพิมพ์อธิปัตย์ ธงปฏิวัติ มาตุภูมิรายวัน นิตยสารถนนหนังสือ และ Good Life ตามลำดับผลงานเขียนของเขาสะท้อนให้เห็นแนวคิดการต่อสู้เพื่อสังคมและอุดมการณ์ทางการเมืองโดยไม่เคยละทิ้งตัวละครที่เป็นชาวชนบทหรือชนชั้นล่างของสังคม โดยนำเสนอผ่านทางเรื่องสั้น บทกวี…

งานแสดงศิลปะ น้ำเปลี่ยนรูป .. โดย โชคชัย ตักโพธิ์

By Mod

น้ำเปลี่ยนรูป .. โดย โชคชัย ตักโพธิ์25 ตุลาคม – 25 พฤศจิกายน 2550 ขอเชิญชมนิทรรศการ อารยทำศิลป์แนวคิดใหม่ด้วยการนำเสนอผลงานอย่างเป็น ‘รูปธรรม น้ำธรรม’ ตามเส้นทางของพหุศิลปะ ที่สะท้อนเรื่องราวและจินตภาพของป่า-ดิน-น้ำ-ข้าว การเปลี่ยนรูปและเป็นไปของน้ำตามภาชนะดั่งหลักคำสอนในพุทธศาสนา ซึ่งศิลปินได้ใช้กลวิธีสร้างสรรค์ แบบศิลปะสมาธิที่เรียกว่า…. ความทำโดยไม่ต้องความคิดเพราะคิดแล้วไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดนั่นแหล่ะจึงรู้…. พบกับงานสเก็ตซ์ไอเดีย และผลงานกว่า 160 ชิ้น ในรอบ 10,950 วัน ( 3 ทศวรรษ ) ของศิลปินท่านนี้ ได้ตั้งแต่ 25 ต.ค.- 25 พ.ย. 2550 ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถ.ราชดำเนินกลาง กรุงเทพฯ เวลา 10.00 น.-19.00 น. ( ปิดวันพุธ ) โชคชัย ตักโพธิ์ ศิลปินเกียรติยศที่ได้รับเลือกเป็นศิลปินมรดกอีสานปี 2549…

กองทุนศรีบูรพาขอไว้อาลัยแด่ นพพร ประชากุล ผู้จากไป

By Mod

แด่ นพพร ประชากุล เหมือนยังเห็นนกเริงร่าในฟ้าอยู่แล้วจู่จู่ก็ร่วงวับลงลับหายเหมือนดวงเทียนสิ้นไส้ไร้ประกายเหมือนดาวฉายดับดวงร่วงริมฟ้าเธอฉลาดปราดเปรื่องเฟื่องความคิดเธอพินิจพิจารณ์ด้วยหาญกล้าเธอสอนหนังสือแสนดีมีลีลาเธอมีค่ามีคุณอบอุ่นใจเธอเจ็บหนักเมื่อไหร่ก็ไม่รู้เธอต่อสู้กับมันนานแค่ไหนเธอแข็งแกร่งทรมานสักปานใดเธอยิ่งใหญ่ตรงได้ผ่านการครวญคิด โอ้..นพพรจากไปเพื่อจะสอนให้ดูจิตมนุษย์ซึ่งกระจ้อยร่อยตัวน้อยนิดย่อมพ่ายพิษความตายผ่านไม่พ้นเธอสอนเรื่องความเปลี่ยนแปลงแห่งชีวาเธอสอนว่าต้องรู้เหตุและรู้ผลเธอสอนเรื่องแก่นธรรมประจำตนเธอสอนคนให้คิดอนิจจังแต่กระนั้นฉันก็ยังโศกเศร้ามากการลาจากทำให้ใจดับหวังขอนพพรชื่อนี้จงจีรังคนรุ่นหลังจำได้ไปนานนาน ชมัยภร แสงกระจ่าง๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

โครงการนิทรรศการศิลปเด็กและเยาวชน ครั้งที่ ๑๒

By Mod

โครงการนิทรรศการศิลปเด็กและเยาวชน ครั้งที่ ๑๒จิตสำนึกประชาธิปไตย เสรีไทยเพื่อสันติภาพ ณ สถาบัน ปรีดี พนมยงค์ เป็นโครงการต่อเนื่องมา นับเป็นครั้งที่ 12 สำหรับโครงการ โครงการนิทรรศการศิลปเด็กและเยาวชน ครั้งที่ ๑๒ครั้งนี้เน้นหัวข้อ  จิตสำนึกประชาธิปไตย เสรีไทยเพื่อสันติภาพ ความเป็นมาของโครงการ เน้นการให้เด็กและเยาวชนปัจจุบันเรียนรู้อดีต เพื่อไปสร้างอนาคต ทั้งนี้ ทางสถาบัน ปรีดี พนมยงค์ ได้ชี้แจงที่มาของโครงการไ ว้ดังนี้ ในวาระครบรอบ  ๗๕  ปี  แห่งการอภิวัฒน์ไทย  (พ.ศ.๒๔๗๕-๒๕๕๐)  คือการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ  และคณะราษฎรได้ประกาศหลัก  ๖ ประการอันเป็นหลักการดำเนินนโยบายของประเทศ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่  ๒ กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลบุกประเทศไทย เมื่อวันที่  ๘  ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔  ราษฎรไทยผู้รักเอกราช หวงแหนอธิปไตยของชาติได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทยซึ่งเป็นองค์กรลับร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร  และต่อสู้ศัตรูผู้รุกราน  จนกระทั่งผู้รุกรานยอมจำนน  และได้มีการประกาศสันติภาพในพระปรมาภิไธย  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  โดย ฯพณฯ  ปรีดี  พนมยงค์  ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อวันที่  ๑๖  สิงหาคม…

สุทธิชัย หยุ่น คว้ารางวัลศรีบูรพาคนที่20

By Mod

กรรมการชี้คุณสมบัติครบถ้วน ทั้งนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ จัดพิธีมอบรางวัลในงาน “วันนักเขียน” 5 พ.ค. รางวัลใหญ่ประจำปีของแวดวงนักคิดนักเขียนนักหนังสือพิมพ์เวียนมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา นายประยอม ซองทอง ประธานกรรมการ กองทุนศรีบูรพา เปิดเผยว่า คณะกรรมการ กองทุนศรีบูรพา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ นายสุทธิชัย หยุ่น ได้รับรางวัล ศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ.2551 โดย “รางวัลศรีบูรพา เป็นกิจกรรมหนึ่งของ กองทุนศรีบูรพา ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรำลึกและเผยแพร่เกียรติประวัติของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา (พ.ศ.2448-2517) นักประชาธิปไตย นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทยและของโลก นางชมัยภรแสงกระจ่าง กรรมการและเลขานุการของกองทุนศรีบูรพา กล่าวว่า ที่นายสุทธิชัยได้รับรางวัลครั้งนี้ เนื่องจากผลงานที่ผ่านมาของนายสุทธิชัย รวมไปถึงคุณสมบัติที่เป็นนักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณากันแล้วถือว่าครบถ้วนกับรางวัลศรีบูรพาในปีนี้เป็นที่สุด “เราไม่ได้บอกว่าคนที่จะได้รางวัลนี้จะต้องเดินตามรอยศรีบูรพาทุกประการ แต่ผู้ที่ได้รับรางวัลจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อนี้ครบ หมายความว่าคนที่ได้จะต้องเป็นนักคิด คือ เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดที่แปลกใหม่…